Boundaries

Boundaries

  • หลายคนอาจพบเจอว่าตนเองไม่สามารถควบคุมชีวิตและความสัมพันธ์ของคนรอบตัวได้เป็นเพราะว่าขาดเส้นแบ่ง (boundaries) ของชีวิต โดยเส้นแบ่งที่ว่านี้คือการเป็นเจ้าของปัญหา ความปรารถนา และความรู้สึกของเราเอง ซึ่งจะช่วยให้คนเราสามารถช่วยเข้าใจหรือแก้ปัญหาของคนอื่นได้ซึ่งกันและกันโดยที่ไม่ต้องแบกรับภาระคนอื่นไว้ที่ตัวเองคนเดียว
  • คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นแบ่งชีวิตจะเกิดอาการ 1 ใน 4 รูปแบบดังนี้
    • Compliant: คนที่ปฏิเสธคนไม่เป็น ใช่ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน
    • Avoidant: คนที่ขีดเส้นแบ่งเพื่อปกป้องตนเองออกจากสิ่งที่เข้ามา โดยไม่สนว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือร้าน
    • Controller: คนที่ล้ำเส้นแบ่งคนอื่นจนคนอื่นต้องทำตามเนื่องด้วยอำนาจหรือความกลัว
    • Nonresponsive: คนที่ขีดเส้นแบ่งเพราะไม่อยากรับผิดชอบปัญหาคนอื่น และโยนปัญหานั้นสะท้อนกลับไปหาคนอื่นด้วย
  • เมื่อคนอื่นมาล้ำเส้นแบ่งเราบ่อยครั้งจนเกินไป สิ่งแรกที่ต้องทำคือตระหนักก่อนว่าเราสูญเสียการควบคุมชีวิตไปตั้งแต่ตอนไหน จากนั้นเรียนรู้ที่จะรักและรู้จักคุณค่าในตัวเองเพื่อที่จะค้นหาสิ่งที่ขาดหายไปในชีวิต จากนั้นค่อย ๆ ขีดเส้นแบ่งเล็ก ๆ โดบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ (respond rather than react) ไม่ว่าจะเป็นการบอกแฟนว่าอย่าทิ้งจานที่ไม่ล้างเอาไว้ หรือตอบรับคำเชิญเพื่อนที่จะมาจัดปาร์ตี้ที่บ้าน
  • จงอย่าลืมขีดเส้นแบ่งระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว หากความเครียดเกิดจากที่ไหนก็ให้ไว้กับที่นั้น ๆ เพราะงานมีมาไม่จำกัด แต่เวลาชีวิตของเรานั้นมีจำกัด

Cracked it!

Cracked it

  • การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนแบบชาว consultant ไม่ควรเริ่มจากการสวมบทเป็น hero แล้วกระโจนไปที่คำตอบก่อนเลย แต่ให้เริ่มจากการเป็นนักสืบด้วยยอมรับกับตัวเองว่าเราไม่รู้อะไรและถามคำถามจากหลากหลายมุมมองเพื่อตอบสมมติฐานที่ตนเองสร้างขึ้นและเป็นการ check ว่าตนเองนั้นกำลังแก้ปัญหาที่ใช่หรือเปล่า หากเริ่มต้นไม่ถูก ให้ใช้กรอบความคิด 4S (State, Structure, Solve, and Sell) ควบคู่ไปกับ TOSCA (Trade-offs, Objectives, Scope, Constraints, and Authority) ข้อเสียของ 4S และ TOSCA framework คือในส่วน hypothesis-driven อาจจะติดกับดัก confirmation bias ในขณะที่ issue-driven จะต้องใช้ resource และเวลาเยอะ ดังนั้นเราจึงต้องหาสมดุลของทั้งสองส่วนนี้
  • หลังจากแก้ปัญหาแล้วก็มาถึงตอนขายแบบชาว consultant คือไม่ใช่แค่อธิบายเหตุผลที่น่าเชื่อถือ แต่ยังรวมถึงการสื่อสารที่เหมาะสมกับคนฟังด้วยการเชื้อเชิญให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของ solution ด้วย โดยเริ่มต้นด้วยการใช้ Pyramid Principle กล่าวคือเริ่มจากคำตอบหลัก จากนั้นตามด้วยเหตุผลหลักที่สนับสนุนคำตอบนั้น ตามด้วยหลักฐานที่สนับสนุนเหตุผลเหล่านั้น เมื่อสื่อสารไปแล้วให้ปูทางไปสู่การพูดคุยกันเพื่อเป็นการ check ว่าทุกคนเข้าใจตรงกันและเปิดให้ทุกคนได้ถามคำถาม

The Consultant’s Handbook

The Consultant’s Handbook

  • การเป็น consultant หมายถึงการใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการช่วยลูกค้าให้ไปถึงเป้าหมาย ในบริษัท consultant เจ้าใหญ่ ๆ สิ่งที่เขาทำกันคือสร้าง networking และ database สำหรับแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์จากการเข้าไปทำ project ที่ผ่าน ๆ มา
  • ในฐานะ consultant สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามากที่สุดในระยะยาว อย่าได้แค่ focus ประโยชน์ในช่วงสั้น ๆ เพราะลูกค้าจะรำคาญและไม่อยากร่วมงานกับเราอีก
  • ถ้าเวลาในการเตรียมตัวของเราสั้น อย่างน้อยให้ทำการบ้านเกี่ยวกับบริษัทของลูกค้า ปัญหาที่เขาพบเจอและแนวทางการแก้ปัญหาคร่าว ๆ แต่การทำการบ้านไม่ใช่แค่การ research แต่ยังรวมถึงการเตรียมคำถามที่จะไปถามลูกค้าและที่ลูกค้าจะถามเราไว้ด้วย
  • สิ่งสำคัญในการเป็น consultant คือการวางตัวให้น่าเชื่อถือตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มจากการแนะนำตัวด้วยประสบการณ์ว่าเราจะใช้มันกับ project นี้ได้ยังไงโดยห้าม claim เกินจริงเป็นอันขาด และอย่าลืมแนะนำทีมงานของเราที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วย
  • ในการประชุมให้แบ่งหน้าที่กันก่อนว่าใครจะเป็นคนนำ ใครจะเป็นคนตอบคำถาม ใครจะเป็นคนจด หลีกเลี่ยงการแย่งกันทำหน้าที่เพราะมันดูไม่มืออาชีพ แต่ถึงแม้ว่าจะเตรียมไปเท่าไรแต่สถานการ์ก็อาจจะเปลี่ยนได้ ก็ขอให้เราเปลี่ยนไปตามสิ่งที่ลูกค้าเขาสนใจ แต่ระวังอย่าให้ออกทะเลจนเราไม่ได้พูดในสิ่งที่จะสื่ออย่างครบถ้วน
  • การทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามากที่สุดในระยะยาวไม่ใช่แค่พยักหน้าอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเห็นต่างกับลูกค้าที่ไปผิดที่ผิดทาง ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 2 รูปแบบ
    • Deductive argument: ตัด choice อื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับเป้าหมายออกจนได้ข้อสรุป
    • Inductive argument: เริ่มจาก solution แล้วหาเหตุผลมารองรับ (คล้าย ๆ กับ Pyramid Principle)
  • ถึงแม้ว่าเราจะแย้งมากแค่ไหน ในบ้างครั้งแล้วเราจะต้องถอยกลับมาดูว่าทำไมลูกค้าถึงปฏิเสธ solution ของเราหรือต้องยอมรับว่าลูกค้าเขารู้มากกว่าเราจริง ๆ
  • ในการวัดความสำเร็จของการ consult เราสามารถใช้กฎ 50:50 คือครึ่งนึงวัดจากผลลัพธ์ที่ได้และอีกครึ่งนึงจากความพึงพอใจของลูกค้า

The Obstacle is the Way

 The Obstacle is the Way

  • ถ้าชีวิตเราเจอกับอุปสรรคใหญ่ที่น่ากลัวให้ลองทำ 3 สิ่งนี้
    • Perception: อยู่กับเป้าหมาย อย่าได้ไหลไปตามอารมณ์
      • เราไม่สามารถควบคุมไม่ให้ชีวิตเจอกับอุปสรรคได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งไม่เท่ากับโลกสวยนะป
    • Act: Focus แค่สิ่งที่เราควบคุมได้เท่านั้น
      • ตั้งเป้าหมายและ focus แรงทุกอย่างไปกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าที่พาเราไปถึงจุดนั้น อย่า focus ไปที่เป้าหมายสุดท้าย
      • หากเราลงมือทำแล้วเจอกับความล้มเหลว อย่าได้จมอยู่กับมัน ให้ถอดบทเรียนแล้วลุกขึ้นมาลองใหม่อีกครั้งโดยใช้บทเรียนที่ได้เสริมเข้าไป
    • Will: อยู่กับปัจจุบัน อย่านึกเสียดายเรื่องในอดีตหรือกังวลไปกับอนาคต
      • ถามตัวเองว่าในชีวิตเราได้เตรียมตัวเตรียมใจกับอุปสรรคที่กำลังจะเข้ามาโดยรู้หรือไม่รู้ตัวหรือเปล่า ถ้ายังเราต้องฝึกจิตใจให้พร้อม
      • Persistence คือการทุ่มเททุกอย่างไปที่การผ่านอุปสรรคจนถึงเป้าหมาย แต่ Preseverance คือความอดทนอดกลั้นในการผ่านอุปสรรคจนถึงเป้าหมาย
      • หากเราผ่านอุปสรรคนึงไปแล้ว ขอให้เราเตรียมตัวเตรียมใจพบกับอุปสรรคใหม่ และยิ่งเราสามารถเอาชนะมันได้มากเท่าไร โอกาสที่เรากำลังตามหาก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น