Stolen Focus

Stolen Focus

เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องของผู้เขียนที่มีช่วงที่เริ่ม focus จดจ่อกับสิ่งใด ๆ ได้น้อยลงยกเว้นข่าว online และ social media พอได้ศึกษาถึงต้นเหตุของปัญหาและเขาก็พบว่า เขาไม่ใช่คนเดียวที่พบกับปัญหานี้ และนี่อาจจะเป็น “วิกฤต” ของโลกในตอนนี้เลยก็ว่าได้

  • สมัยก่อนคนเราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ช้าเพราะต้องรอหนังสือพิมพ์หรือจากปากต่อปาก ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีออกมาให้เราเข้าไปดูได้ตลอด หนำซ้ำยังส่งมาเตือนเราผ่าน notification ทั้งใน laptop และ smartphone ทำให้สมองของมนุษย์ไม่สามารถปรับความสามารถในการ focus เข้ากับการเปลี่ยนแปลงแบบข้ามขั้วได้ทัน
  • Social media อย่าง Facebook, Twitter, Instagram จงใจออกแบบมาเพื่อทำให้เรา “เสพติด” ไปกับ content เช่น Inifinite scrolling ซึ่งก็ดูดเวลาคนเราไปได้เยอะ (รวมถึงตัวคนสร้างด้วย ฮ่า ๆๆ)
  • Social media ก็เล่นกับ negativity bias เพื่อดึงความสนใจของคนด้วย เช่น content ที่เป็นดราม่าหรือมีความรุนแรงจะมียอด engagement มากกว่า content เชิงบวก แต่มันก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดีก็ได้ เช่น การย้อนกลับไปใช้ social ในการแบนสาร CFC ที่เหล่านักสิทบาศาสตร์กล่าวว่ามันทำลายชั้น Ozone
  • โลกของเรามักสอนว่า “ยิ่งเราทำงานสำเร็จได้เยอะเท่าไร แปลว่าเรา focus ได้มากเท่านั้น” ซึ่งมันก็ถูกเอาไปตีความผิด ๆ ว่า เราต้องทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน (multitasking) แต่แท้จริงแล้ว computer เก่งกว่าคนในเรื่องนี้เยอะ เพราะมันมี CPU หลายตัว แต่เราก็แค่อันเดียวคือ “สมอง” ดังนั้นเราควรจะ focus กับแค่สิ่ง ๆ เดียว โดยที่งานจะต้องท้าทายพอที่เราจะต้องทุ่ม focus เต็มที่ แต่ก็ไม่ยากพอที่จะทำให้เราล้มเลิกอย่างรวดเร็ว
  • โลกเราจะพ้น “วิกฤต” นี้ได้ด้วยการร่วมแรงร่วมใจจากคนทุกคน รวมไปถึงคนสร้างระบบ social media ด้วย

On Writing Well

On Writing Well

หนังสือเล่มนี้แนะนำหลักการในงานเขียนบทความ หนังสือ หรือเอกสารที่ไม่ใช่หมวดนวนิยาย รวมไปถึง tips & tricks ที่เราสามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงงานเขียนให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

  • จะเขียนให้ดี ต้องเขียนให้เรียบง่าย กล่าวคือให้ตัดคำหรือวลีที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้สื่อความหมายใด ๆ เพิ่มเติมไปจากคำที่มีอยู่แล้ว ตอนเขียนให้เราถามตัวเองว่า “เรากำลังจะสื่ออะไร” “นี่เราได้สื่อในสิ่งที่อยากจะสื่อไปแล้วใช่ไหม”
  • วิธีการพัฒนา style การเขียนของตนเองขึ้นมาคือ “เริ่มเขียน” ในช่วงแรก ๆ มันจะไม่ค่อยถูกใจเรา แล้วเราจะค่อย ๆ เจอคำที่ “ใช่” สำหรับเราเอง โดยแรกเริ่มให้เน้นการใช้สรรพนามที่ 1 (I) ก่อนเพื่อเวลาเราอ่านงานเขียนเรามันเหมือนกับเรากำลังพูดอยู่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์สูง ๆ หรือสำนวนโวหารแบบนวนิยาย เช่น “เพชรในตม” หรือ “เก่าแก่เท่า ๆ กับเนินเขา”
  • หลีกเลี่ยงการแทนคำด้วย synonym ที่ดูโก้ดูหรูมากเกินไป เพราะมันอาจจะเปลี่ยนความหมายที่เราต้องการจะสื่อไปได้ ยกเว้นว่ามันเป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่เพื่อสื่อความหมายนั้นโดยเฉพาะ เช่น geek, multitask เป็นต้น
  • เพื่อให้งานเขียนของเราออกมาดูไปในทางเดียวกัน ให้เราตอบคำถามเหล่านี้กับตัวเอง แล้วอย่าเปลี่ยนคำตอบกลางทาง
    • เราเขียนให้ใครอ่าน? คนทั่ว ๆ ไปหรือคนเฉพาะกลุ่ม?
    • เราจะสื่อออกไปแบบไหน? ทางการ? ตลกขบขัน? เสียดสี? past vs present tense? first vs third person?
    • เราจะสื่อประเด็นอะไรบ้าง?
    • เนื้อหาเราจะครอบคลุมมากขนาดไหน?
  • เน้นงานเขียนในส่วนเปิดและส่วนปิดให้สวยงามน่าสนใจ นั่นรวมถึงประโยคเปิด-ปิดในแต่ละ paragraph ด้วย
  • ใช้ adjective, adverb เท่าที่จำเป็น แค่เลือก noun กับ verb ที่ดีก็เพียงพอ
  • ระวังการใช้ “คำปฏิเสธ” เช่น don’t, isn’t, not โดยให้หาคำตรงที่มันปฏิเสธในตัวแทน เช่น “You weren’t happy” -> “You were unhappy”
  • ถ้าเราอยากเขียนให้คนชอบ เราต้องชอบงานเขียนของตัวเองด้วย แม้ว่ามันจะดู indie มากแค่ไหนก็ตาม
  • เป็นเรื่องปกติที่งานเขียนที่เราเขียนไปจริง ๆ อาจจะแตกต่างกับงานเขียนที่เราจินตนาการไว้ในหัว ขอให้เราปรับแก้ให้มันดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ลองผิดลองถูกจนได้เรื่องราวที่เราอยากจะสื่อจริง ๆ ในที่สุด

Crucial Accountability

Crucial Accountability

หนังสือคู่มือในการรักษาและแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนที่เราต้องการให้พวกเขามีความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ที่ถ้าไม่มีแล้วจะเกิดผลเสียต่าง ๆ เช่น ผิดสัญญา รับปากแล้วไม่ทำ หรือทำได้ไม่ตามที่คาดหวังกันไว้ เป็นต้น

  • ก่อนที่จะเริ่มเปิดอกพูดคุยในเรื่องเหล่านี้ ให้ระบุปัญหาที่เขามีและเลือกอันที่สำคัญที่สุดสำหรับเรามา 1 อัน โดยให้คิดไปในกรอบรูปแบบ Content-Pattern-Relationship
  • ตอนก่อนพูดอย่าเพิ่งด่วนสรุปรวบไปว่าสิ่งที่เขาทำมันแย่ แต่ให้ตั้งประเด็นว่่าจริง ๆ แล้วมันอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เขาตัดสินใจทำแบบนั้น
  • ให้ระวังสร้างความรู้สึกให้เขารู้สึกไม่สบายใจที่จะเปิดอกคุย เช่น น้ำเสียง ภาษากาย รวมไปถึงการไม่แยแสต่อความเห็นของเขาเราถูกแน่นอน
  • ตอนพูด ให้เริ่มจากความจริง (fact) ที่เกิดขึ้นก่อน ต่อด้วยว่ามันต่างจากสิ่งที่เราคาดหวังไว้อย่างไร ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง มีใครเดือดร้อนจากการกระทำของเขาบ้าง ปิดท้ายด้วยการสรุปความเห็นของเราพร้อมกับถามความเห็นของเขา เช่น คิดว่าไง เกิดไรขึ้น เป็นต้น เพื่อให้เกิดบรรยากาศในสร้างหาทางออกร่วมกันนั่นเอง
  • ในการสนทนา ถ้าเราเห็นว่ามันมีอุปสรรคทำให้เขาทำตามที่เราคาดหวังไว้ไม่ได้ ก็ให้ไป focus ที่วิธีการผ่านอุปสรรคนั้นซะ ไม่ว่าจะหาคนที่ใกล้ตัวหรือคนที่เดืิอดร้อนโดยตรงมาช่วย เพื่อให้ทุกคนเห็นอุปสรรคเป็นภาพเดียวกัน นำไปสู่โอกาสในการหาทางออกร่วมกันมากขึ้น
  • ในการหาทางออกร่วมกัน อย่าเพิ่งรีบใช้วิธีแก้ของตัวเอง แต่ให้ทุก ๆ คนออกไอเดียแล้วเราค่อยเสริมความเห็นของเราหรือให้ความช่วยเหลือลงไปแทน
  • ขณะสนทนาหากมีปัญหาอื่น ๆ ของเขาโผล่ขึ้นมา อย่าเพิ่งรีบโดดไปเรื่องใหม่ ให้บอกว่าจะขอพักเรื่องนี้ไว้ก่อนเดี๋ยวค่อยกลับมาคุยทีหลัง
  • ขณะที่เปิดอกคุยกัน กระตุ้นให้เขาพร้อมเปิดใจและให้พูดเยอะ ๆ แล้วสังเกตว่าเหตุผลที่เขาทำหรือรู้สึกแบบนั้นเป็นเพราะอะไร จากนั้นให้พูดสิ่งเดิมกับเขาด้วยรูปแบบคำของเราเอง
  • ก่อนจบการคุย ให้ปิดด้วย plan และทางออกที่เข้าใจร่วมกันและเจาะจงให้ได้มากที่สุดในรูปแบบ who, what, when เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมที่อาจจะเกิดซ้ำจากความเข้าใจผิด ถ้ามี deadlines ก็ยิ่งดีเพราะสามารถติดตามได้เรื่อย ๆ ทันท่วงที
  • ถ้าสถานการณ์เปลี่ยน อย่าลืมให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาปรับความเข้าใจร่วมกันใหม่ด้วย

What Got You Here, Won’t Get You There

What Got You Here, Won't Get You There

หนังสือสำหรับเหล่าผู้นำทีม (leader) ที่อธิบายถึงพฤติกรรมที่ฉุดรั้งไม่ให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและคำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้น

  • สาเหตุที่ leader ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้เป็นเพราะว่าเขาไปผูกพฤติกรรมเข้ากับตัวตนของเขา ก็เลยคิดว่ามันเปลี่ยนไม่ได้เพราะมันเท่ากับเปลี่ยนตัวตนไปด้วย ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ต้องแยกออกจากกันก่อน
  • Leader ส่วนใหญ่จะชื่นชมคนที่ทำงานได้ดี แต่ไม่ค่อยชมคนที่หยุดทำในสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหาย หรือระมัดระวังในการตัดสินใจอะไรที่แย่ ดังนั้นอย่าลืมให้ความสำคัญกับพฤติกรรมและคนเหล่านี้ด้วย
  • หลีกเลี่ยงความอยากที่จะชนะมากเกินไป บางทีมันอาจจะไม่คุ้มแรงและเสียความสัมพันธ์กับคนไปโดยไม่รู้่ตัว
  • เรียนรู้ที่จะรับฟังคนอื่นโดยไม่พยายามยัดเยียดความคิดของเราลงไปเกินงาม ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องดีหรือแย่ก็ตาม เช่น “It’s a good idea, but…”
  • การหมกมุ่นอยู่กับเป้าหมายเป็นเรื่องที่ดีเพราะมันผลักดันให้เราผ่านพ้นอุปสรรคเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ถ้าหมกมุ่นมากเกินไปก็ทำให้แยกแยะสิ่งที่ถูกผิดไม่ออก
  • คนที่ประสบความสำเร็จมาในระดับนึง (นั่นก็หมายถึง leader หลาย ๆ คน) จะมีปัญหาในการรับคำติชมและคำวิจารณ์ได้ยากขึ้นเพราะตัวตนของเราคิดว่าเรายิ่งใหญ่ไม่มีที่ติ ดังนั้นเวลาได้รับ feedback มาให้จดจำไว้ก่อน หลังจากนั้นค่อยมาแยกแยะว่าอันไหนเป็นคำชม อันไหนเป็นคำติ
  • หัดพูด “ขอโทษ” “ขอบคุณ” ให้มากขึ้น อย่าไปคิดว่าหากเราพูดไปแล้วแปลว่าเราอ่อนแอซึ่งไม่จริง
  • Catch-up กับเพื่อนร่วมงานทุกเดือนและถามเขาว่ามีพฤติกรรมของเราต้องปรับปรุงไหม หรือพฤติกรรมของเราที่เคยติไปดีขึ้นหรือเปล่า
  • การเปลี่ยนแปลงตัวเราให้เป็น leader ทีดีขึ้นได้นั้นไม่สามารถทำได้เพียงชั่วข้ามคืนเพียงแค่ไปอ่านหนังสือ คำพูดปลุกใจ หรือไปเข้า course ต่าง ๆ

Ultralearning

Ultralearning

หนังสือที่บอกกลยุทธิ์และ technique ในการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่ยากภายในเวลาที่สั้น

  • ก่อนที่จะเริ่มศึกษาอะไรสักอย่าง ให้เริ่มเรียนรู้วิธีในการเรียนก่อน (metalearning) กล่าวคือเราควรจะเข้าใจหลักการและภาพรวมของเนื้อหาที่เราจะศึกษาก่อน เช่น ในการเรียนภาษาจีน แทนที่จะเริ่มจากการท่องจำตัวอักษรแต่ละตัว ก็เปลี่ยนเป็นการทำความเข้าใจเครื่องหมายในการออกเสียงก่อน เป็นต้น
  • สร้าง metalearning map ด้วยการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน คือ
    • Concepts: สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ
    • Facts: สิ่งที่ต้องจดจำ
    • Procedures: สิ่งที่ต้องลงมือทำ
  • จากนั้นดูว่าเราต้องเน้นอันไหนเป็นพิเศษแล้วหาวิธีหรือตัวช่วยให้เรียนง่ายขึ้น เช่น ลงทุนกับ spaced-repetition software หรือหา course จนไปถึงการลอกเลียนวิธีการเรียนของคนที่เก่งในศาสตร์นั้น ๆ
  • การเรียนรู้รวดเดียวยาว ๆ อาจทำให้เรารู้สึกท้อเพราะมันเยอะเหลือเกิน ให้เปลี่ยนเป็นแบ่งเรียนหลาย ๆ ช่วงสั้น ๆ โดยแต่ละช่วงให้ศึกษาในกรอบแง่มุมที่ต่างกันไป เช่น แทนที่จะเรียนภาษารวดเดียว 10 ชั่วโมง ก็ให้แบ่งเป็น session ละ 2 ชั่วโมง 5 ครั้ง แล้ว focus ไปที่ grammar บ้าง vocabulary บ้าง เป็นต้น
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ให้ไปในทางเดียวกันกับศาสตร์นั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด เช่น หากเรียนภาษาก็ฝึกพูดไปจนถึงไปอยู่ประเทศนั้น ๆ ชั่วคราว หรือ หากเรียน coding ก็ฝึกเขียน code บน project จริงไปจนถึงสร้าง constraint ให้แก้ปัญหาด้วย Big O ไม่เกินที่กำหนด เป็นต้น
  • หากเราเข้าไปเรียนไปสักพักแล้วพบว่าเราต้องศึกษาในจุดที่มันอาจจะไม่ไปในทางเดียวกันกับศาสตร์นั้น ๆ โดยตรง ซึ่งโดยมากจะเป็น technique เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่มีผลให้เรา perfect ในศาสตร์นั้น ๆ เช่น หากเราเรียน golf ก็จะมีการฝึกวง swing ให้ perfect หรือ ฝึกล้องานเขียนของผู้เขียนที่เราชื่นชอบ เป็นต้น ให้เจาะลึกลงไปสักพักแล้วก็กลับมาเรียนทางเดียวกันกับศาสตร์นั้น ๆ ต่อโดยแบ่งเวลาออกมาส่วนนึงเพื่อทำสิ่งนั้นซ้ำ ๆ จน perfect ข้อควรระวังคืออย่าดำดิ่งลงลึกมากเกินไปให้กลับมา focus ที่พื้นฐานจะดีกว่า
  • อย่าลืมกลับไปทบทวน (review) สิ่งที่เราเคยเรียนมา และฝึกการนึกย้อนกลับโดยใช้สมองของเราเอง (recall) เช่น หากเราเรียนด้วยการจด note แทนที่จะจดเป็นประโยคบอกเล่า ให้จดเป็นคำถามของประโยคนั้นแทน เป็นต้น
  • วิธีการที่จะ monitor การเรียนรู้ของเราคือการจับ learning rate ว่าเราประยุกต์ใช้ความรู้ของเราได้ประสบความสำเร็จได้เร็วแค่ไหน เช่น เวลาที่ใช้ในการแก้โจทย์เลข เป็นต้น หากเราพบว่า trend ของ learning rate มันไปในทางลบหรือไม่ได้ดีขึ้น ก็เก็บเป็น feedback เพื่อนำไปปรับปรุงวิธีการเรียนรู้ให้ดีขึ้นต่อไป