แนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อ automate งาน
Photo by Lenny Kuhne on Unsplash
อาทิตย์ก่อนมี discussion ที่น่าสนใจจากกลุ่ม Software Development ของที่บริษัท เลยจดบันทึกไว้สักหน่อย
เมื่อเราพูดถึงงานที่เราต้องมาทำ automation โดยมากก็จะเป็นงานที่ทีมพัฒนา software จะต้องทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- ทำการ run ชุดการทดสอบในแต่ละระดับ
- Build source code ให้เป็น artifact
- Deploy artifact ขึ้นระบบงาน
งานบางส่วนสามารถนำมาร้อยเรียงกันเป็นขั้นเป็นตอนได้ในรูปแบบของ pipeline เพื่อทำให้เส้นทางในการส่งมอบงานให้ผู้ใช้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการทำแบบ อัตโนมือ (human-error prone) ซึ่งในการที่จะนำมาร้อยเรียงกันได้ ก็คงหนีไม่พ้นการ coding อยู่แล้ว เรามาดูกันว่ามีวิธีที่ทีมพัฒนาสามารถสร้าง automation ได้อย่างไร
1. Strict declarative tools
เครื่องมือในกลุ่มนี้จะใช้ภาษาหรือกฎเฉพาะตัว โดยถูกสร้างมาเพื่อทำงานใดงานหนึ่งเท่านั้น เช่น
- Maven: สำหรับทำ package management และ build automation กำหนดเงื่อนไข บน XML file
- Terraform: สำหรับทำ Infrastructure-as-a-Code กำหนด resource, configuration ด้วย Hashicorp Configuration Language
- Helm: สำหรับทำ package management สำหรับ Kubernetes application กำหนด resource ต่าง ๆ ด้วย YAML file
เนื่องจากสร้างมาสำหรับทำงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ถ้าเราต้องการจะ customize ในระดับนึง จะทำได้ยากกว่าเครื่องมือประเภทอื่น เพราะ syntax จะ strict มาก (declarative language)
2. Declarative with flexible scripting language
เครื่องมือในกลุ่มนี้จะคล้ายกันกับกลุ่มที่ 1 แต่จะมีความยืดหยุ่นในการ customize ได้มากกว่า เช่น
- Gradle: สำหรับทำ package management และ build automation กำหนดเงื่อนไขด้วยภาษา Groovy หรือ Kotlin
- gulp.js: สำหรับทำ automate task เช่น แปลง CSS file โดยกำหนด task ด้วยภาษา JavaScript
ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ในการ customize จะอยู่ในกลุ่ม imperative language และมี plugin เสริมที่สามารถ download มาใช้ได้ ซึ่งจะมีข้อจำกัดตรงที่ว่าเราไม่สามารถ customize ตัว plugin ได้มากมายไปเกินกว่าที่คนสร้างกำหนดไว้ ถ้าต้องลงเอยด้วยการเขียนเอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงขึ้น
3. Declarative with Shell
เครื่องมือในกลุ่มนี้จะใช้ Shell ในการ customize เช่น
- Make: สำหรับทำ automate task และ workflow ในระดับ low-level เช่น เมื่อมีการ update file ใด ๆ กำหนด flow ด้วย
Makefile
ข้อดีคือจะมีความยืดหยุ่นสูงมาก สามารถใช้ได้กับ project ที่มีหลาย ๆ ภาษาพร้อมกัน โดยไม่ต้องสลับ context ของแต่ละภาษาไป ๆ มา ๆ ข้อควรระวังคือทีมพัฒนาจะมี learning curve ในการทำความเข้าใจ workflow (เช่น Makefile
) และ task ที่เขียนด้วย shell script ที่โดยทั่วไปแล้วไม่ได้อยู่ในภาษามนุษย์เท่าไร
4. Shell call-out
เครื่องมือในกลุ่มนี้จะคล้ายกันกับกลุ่มที่ 3 แต่จะลด learning curve ในการทำความเข้าใจ workflow ด้วยการใช้เครื่องมือตัวอื่น ๆ แทน เช่น
- npm และ yarn: เป็น package management สำหรับ JavaScript project สามารถเรียก shell script ได้
แม้ว่าจะลด learning curve ในการทำความเข้าใจ workflow แต่ในส่วนของ task ที่เขียนด้วย shell script ก็ยังคงยู่
5. Containers-based tools
เครื่องมือในกลุ่มนี้จะใช้แนวคิดเรื่อง containerization มาประยุกต์ เช่น
- docker-compose และ batect: กำหนด CLI command, environment variable และ workflow ผ่าน YAML file
ข้อดีคือไม่จำเป็นต้องติดตั้ง dependencies ที่ใช้ในการ run เครื่องมือเหมือนกลุ่มที่ 1-2 ในขณะเดียวกัน task ที่เขียนก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของ shell เหมือนกลุ่มที่ 3-4 แต่มีข้อจำกัดคือ ระบบที่ใช้ run เครื่องมือกลุ่มนี้จะต้องรองรับ containerization เช่น Docker เป็นต้น
แล้วควรใช้รูปแบบไหนดีล่ะ
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ต้องตอบว่า “It depends” อีกเช่นเคย เนื่องจากมีหลายปัจจัย เช่น
- เราทำงานกับ Project ที่ใช้มากกว่า 1 ภาษาหรือไม่
- เราทำงานกับ Project ที่ระบบงานรองรับ containerization ไหม
- งานที่จะ automate สามารถทดแทนด้วย plugin ได้ไหม หรือต้อง customize เอง
- ทีมพัฒนามีความคุ้นเคยกับภาษาใดบ้าง
แล้วทีมของเราใช้เครื่องมือกลุ่มไหน เพราะอะไร