ในการทำงานปัจจุบัน เป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเจอกับความเครียดเนื่องจากมันมีหลายอย่างที่จะต้องคิดต้องจำเยอะ ต้องเร่งทำงานให้เสร็จ หรือเกิดจากพักผ่อนน้อย โดยเฉพาะเราที่อยู่ในวงการ IT ที่ต้องทำงานอยู่จอ computer เป็นเวลานาน ในที่สุดก็ทำให้เคมีในสมองเสียสมดุล เริ่มมีความคิดว่าทำไมทุกอย่างมันดูเยอะไปหมดเลย จะเริ่มเขียน code ก็คิดไม่ออกตื้อไปหมด เกิดเป็นอาการสมองล้า (brain fog)

แน่นอนว่า brain fog มันไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด มันเกิดจากการสะสมมาเป็นระยะเวลานึง (collective) เราจะมีวิธีการป้องกันไม่ให้มันบานปลายได้อย่างไร มาดูกัน

รู้จักกับประเภทของ cognitive load

Cognitive load คือ ปริมาณของความจำระยะสั้นและระยะยาวที่เก็บไว้ในพื้นที่จำกัด มีหลัก ๆ 3 ประเภทด้วยกัน

Intrinsic cognitive load

สิ่งที่ต้องคิดต้องจำจากการใช้ทักษะทำงานให้เสร็จ ยิ่งต้องคิดต้องจำในการทำงานให้เสร็จเท่าไร ก็จะมี cognitive load นี้มากเท่านั้น เราควรจะคุมให้มันน้อย ๆ เข้าไว้ (ในช่วงที่เราเข้า project ใหม่ ๆ cognitive load ในช่วงแรกจะสูงเป็นปกติครับ เดี๋ยวมันจะลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเราปรับตัวเข้ากับ project ได้เอง)

Extraneous cognitive load

สิ่งที่ต้องคิดต้องจำจากสิ่งรบกวนการทำงานให้เสร็จ ยิ่งต้องคิดต้องจำในการทำงานให้เสร็จเท่าไร ก็จะมี cognitive load นี้มากเท่านั้น เราก็ควรจะคุมให้มันน้อย ๆ เข้าไว้

Germane cognitive load

สิ่งที่ต้องคิดต้องจำเมื่องานที่ต้องทำให้เสร็จไปเกี่ยวข้องกับประสบการณ์หรือเรื่องในอดีตเคยผ่านมา ยิ่งเราคิดและจำจากประสบการณ์ได้มากเท่าไร ก็จะมี cognitive load นี้มากเท่านั้น เราก็ควรจะคุมให้มันมาก ๆ เข้าไว้

วิธีจัดการ cognitive load กับตัวเอง

Intrinsic cognitive load ⬇️

  • ฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ
  • หาคนช่วยที่มีประสบการณ์ตรง หรือ หาตัวอย่างจาก project ที่เคยทำเสร็จไปแล้ว

Extraneous cognitive load ⬇️

  • มีสมาธิจดจ่อกับงานที่เราทำ ตัดสิ่งรบกวนด้วยการสร้างกรอบเวลาขึ้นมา (มีหลาย technique ที่นิยมเช่น Pomodoro)
  • ฝึกนั่งสมาธิ (ส่วนตัวคิดว่าข้อนี้ยากจัด ฮ่า ๆๆ)

Germane cognitive load ⬆️

  • ถามคำถามเชิง “ทำไม” บ่อย ๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าเราทำงานนี้ไปทำไม จะได้มีโอกาสมากขึ้นที่จะเชื่อมเหตุผลใหม่เข้ากับประสบการณ์ของเรา

วิธีจัดการ cognitive load กับทีม

Intrinsic cognitive load ⬇️

  • การทำ onboarding ที่ดี
  • ค่อย ๆ นำเสนอแนวทางการทำงานใหม่ ๆ ไม่ต้องยัดเข้าไปทีเดียวทั้งหมด

Extraneous cognitive load ⬇️

  • ควบคุมจำนวนคนในทีมให้เหมาะสม อย่าให้เข้า ๆ ออก ๆ บ่อยเกินไป (บอกเป็นตัวเลขไม่ได้ อันนี้แล้วแต่ว่าทีมทำอะไร)
  • ตกลงแนวทางการทำงาน รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบ (roles & responsibility) ร่วมกัน
  • สร้างพื้นที่ที่เกิดความสบายใจ กล้าลองผิดลองถูก มีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน (psychological safety)
  • ทำให้แนวทางการทำงานออกมา lean ที่สุดด้วยการลดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป
  • จากกฎ Conway’s law ซึ่งกล่าวถึง architecture รวมถึงแนวทางการส่งมอบงานแบบอัตโนมัติ มันจะเป็นรูปเป็นร่างได้มันก็ต้องมาจากรูปแบบขององค์กรที่ตอบโจทย์ด้วย เมื่อสภาพองค์กรเปลี่ยนไปแล้วเราควรจะสามารถตรวจสอบได้ว่าแนวทางการส่งมอบมันเปลี่ยนตามไปด้วยหรือไม่ เช่น form ที่ประกอบไปด้วยคำถามต่าง ๆ เช่น ความยากในการทดสอบ การ build deploy และดูแลระบบงาน เป็นต้น

Germane cognitive load ⬆️

  • กำหนดปัญหาให้ชัดเจนและน่าสนใจที่จะลงมือแก้ไข
  • กำหนดวิธีแก้ปัญหาให้ชัดเจนและน่าจะพอไปต่อได้

จะสังเกตแปลว่าการมี cognitive load ไม่ใช่สิ่งที่แย่ไปหมดด เพียงแต่เราต้องเลือกให้มีถูกประเภทเท่านั้นเอง