บันทึกการแบ่งปัน Productivity tools สำหรับ macOS ให้กับคนในบริษัท
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีการจัด session ให้กับคนในบริษัทเกี่ยวกับ Productivity tools จากที่เคยแชร์ไปใน blog ก่อนๆ ว่า การฝึกและเรียนรู้เครื่องมือผ่าน program หรือ shortcut ช่วยประหยัดเวลาให้กับเราเยอะมากๆ
เครื่องมือเหล่านี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นของใหม่ๆ เสมอไป ของที่ต้องใช้อยู่ทุกวันเช่น terminal หรือ web browser หรือ text editor หรือ IDE ถ้าฝึกใช้ให้คล่อง ก็มีประโยชน์มากๆ กับเราเช่นเดียวกัน
ในบทความนี้เราจะเน้นไปในส่วนของ terminal เป็นหลัก เพราะทีมที่แชร์มีขั้นตอนการทำงานที่คล้ายๆ กัน เช่น
- รัน Linux-based command (cd, ls, curl, grep, xargs)
- รัน Kubernetes command (get-context, set-context, switch-context)
เนื่องจากเวลาจำกัดที่ 1 ชั่วโมง จึงทำได้แค่แนะนำและช่วยติดตั้งเครื่องมือตาม 2 หัวข้อด้านบน
เริ่มต้นจาก Terminal กันก่อน
ที่ให้ลองใช้เลยคือ iTerm2 + zsh + oh-my-zsh ซึ่งมี feature เจ๋งๆ (ในเว็บของ oh-my-zsh บอกว่าถ้าใช้แล้วจะต้องร้องว่า “Oh My ZSH!”) เช่น
- สามารถ customize shortcut และเก็บเป็น preset ของเราเผื่อ export ไปใช้กับเครื่องใหม่ได้
- สามารถ split จอแนวตั้ง-แนวนอนได้
- ลง plugin เช่น shorthand syntax หรือ autosuggestion
- ติดตั้ง alias เพื่อทำ custom shorthand syntax เช่น (
alias gp="git push -u origin master"
) เป็นต้น
oh-my-zsh
สามารถเลือก theme มาลงเพิ่มได้ด้วย เลือกตามชอบเลยครับ ผมใช้ของ spaceship-prompt
สำหรับ oh-my-zsh plugin ที่ใช้
สามารถเข้าไปเพิ่มใน .zshrc
ได้ผ่าน editor
vi ~/.zshrc
ตัวที่เราแนะนำไปเบื้องต้นคือ git และ zsh-autosuggestions โดยส่วนใหญ่แล้วเวลาลง plugin เราจะ clone repository ของ plugin มาไว้ใน /Users/<your-username>/.oh-my-zsh/custom
จากนั้นเราก็จะมาเพิ่ม plugins ในไฟล์ .zshrc
ตามนี้
ในส่วนของ Kubernetes
เบื้องต้นเราให้ลง tool ชื่อ kubectx + kubens ใช้เพื่อ switch context ง่ายๆ โดยไม่ต้องพิมพ์ kubectl config set-context my-context --cluster=my-cluster --namespace=my-namespace
ให้เมื่อย โดยมี 2 คำสั่งหลักคือ
kubectx
ใช้สำหรับดู context ทั้งหมดkubectx <context-name>
ใช้สำหรับ switch context ไปที่<context-name>
ถ้าไม่อยากรัน 2 คำสั่ง maintainer เค้าแนะนำให้ลง fzf
เป็น fuzzy search แบบ interactive mode
แต่ก็มีความขี้เกียจต่อว่า อยากดู Kubernetes context โดยไม่ต้องรัน kubectx
เจ้า spaceship-prompt เค้ามีมาให้ครับ โดยจะต้องเพิ่ม SPACESHIP_KUBECTL_SHOW=true
ลงไปในไฟล์ .zshrc
(ดูตาม gist ข้างบนได้) ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีหน้าตาประมาณนี้
Productivity tools ตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้แชร์ใน session
- Homebrew package manager ของ macOS
- Vimium chrome/firefox extension ที่ใช้ browser ผ่าน keyboard เช่น กด hyperlink หรือ scroll page
- JSONView ดู JSON ที่ beautify ผ่าน browser
ลองไปใช้กันดูครับ มีประโยชน์มากๆ