ในการพัฒนา software ปัจจุบัน การจัดการ exception ในระบบเป็นส่วนสำคัญที่กำหนดการตอบสนองของระบบต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือข้อผิดพลาด ซึ่งมันก็มีด้วยกันหลากหลายท่าขึ้นอยู่กับภาษา, library, framework และระบบที่พัฒนา เช่น

  • Optional: ถ้าเกิด exception ให้ return ค่าเปล่า (Empty หรือ None แล้วแต่ภาษา) ออกไป ทำให้ consumer ที่เรียก function/method นั้นต้องจัดการกรณีที่ออกมาเป็นค่าเปล่าด้วย ข้อควรระวังคือบางที consumer อาจจะสับสนว่าค่าเปล่าแปลว่า error หรือว่า ไม่มีค่าในข้อมูลของเรากันแน่ และไม่สามารถดักเฉพาะ exception ได้

  • try-catch: สามารถดัก exception ได้หลากหลายตัวแตกต่างกัน ตัวไหนที่ดักได้ใน low-level ก็สามารถส่งกลับขึ้นไป (propagate) บน high-level ที่สูงกว่าได้ ข้อควรระวังคือหากมี code ที่ต้อง handle คล้าย ๆ กันก็จะเกิด duplication ได้

  • Monad: รวมข้อดีของ 2 วิธีข้างบนเข้าด้วยกัน ข้อควรระวังคือบางภาษาไม่มีมาให้ ต้องลง dependencies แยก

  • Non-exception approaches: ในบางภาษาอย่าง C จะไม่มี exception จึงต้องใช้วิธีอื่นอย่างเช่น error code หรือ global variable เป็นต้น

  • Global exception handler: บาง framework อย่าง Spring Boot มีการสร้าง exception handler ที่สามารถเขียนแยกกันกับ business logic code และทำงานกับทุกส่วนของ code เราได้ ป้องกันในกรณีที่เกิด exception ที่ไม่ได้คาดเดาไว้ทำให้ระบบยังคง run ต่อไปได้

โดยส่วนตัวแล้วเราว่าการจัดการกับ exception ที่ดีไม่ได้มีสูตรตายตัวแน่นอน เพียงแค่เราต้อง balance ระหว่าง exception ที่เป็น global และที่เป็นตัวเฉพาะเจาะจงให้เหมาะสม ดังนี้

  • Explicit exception handling: พัฒนาวิธีจัดการ exception ทุกตัวที่คาดคิดไว้ว่ามันอาจจะเกิดแยกกันให้ได้มากที่สุด เจาะจง customise เป็นกรณี ๆ ไปเลย หลีกเลี่ยงการพัฒนา global try-catch และหรือ exception handler ที่ return response แบบ generic มาก ๆ เมื่อระบบเกิดปัญหาเราจะทราบต้นเหตุได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นกุศโลบายให้ระบบที่มาเชื่อมกับมันมีการจัดการ exception ที่ดีและ ป้องกันไม่ให้ response มีข้อมูลลับที่เราไม่อยากให้ user รู้ได้อีกด้วย
  • Avoid hard crashes: หากมีกรณี (ที่จำเป็นจริง ๆ) ที่ exception ในระบบเราไม่สมควรจะจัดการหรือไม่ได้ทำให้ระบบเรากลับมาเหมือนเดิมได้ ก็ค่อยถึงเวลาที่จะต้องปล่อย crash แต่ควรทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น เช่น mobile app แต่ไม่ใช่ใน API services เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อ availability ของระบบ