สรุปสิ่งที่น่าสนใจจากงาน Invest or Gamble? การเงินนอกห้องเรียน
เมื่อวานมีโอกาสได้เข้าไปร่วมงาน Invest or Gamble? การเงินนอกห้องเรียน ซึ่งมีการพูดเปิดประเด็นว่า
“การลงทุน” กับ “การพนัน” มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
คุณผู้ฟังก็มองว่ามันเหมือนกัน ยกตัวอย่างเรื่องของการ “แทงบอล” ว่ามันก็คือการเอาเงินไปลงแล้วก็คาดหวังผลว่ามันจะได้รับผลตอบแทนกลับมาหลังจบเกม โดยศึกษาผ่าน “ตัวเลข” ต่าง ๆ เช่น สถิติการเจอกันก่อนหน้า score เกมก่อนหน้าที่จะมาเจอกัน แผนการเล่น เปอร์เซ็นต์การครองบอล เป็นต้น คำถามคือ
การแทงบอล โดยมีการใช้ตัวเลขและสถิติถือว่าเป็น “การลงทุน” หรือ “การพนัน”
ผู้พูดได้ยกตัวอย่าง Edward O. Thorp เขามีกลยุทธิ์ในการทำกำไรจากการเล่นเกม Blackjack ผ่านการคำนวนทางด้านคณิตศาสตร์ จนสามารถเขียนเป็นหนังสือหนังสือ Beat the Dealer ขึ้นมา คำถามต่อมาคือ
การเล่น Blackjack โดยมีการวิเคราะห์ด้านคณิตศาสตร์ถือว่าเป็น “การลงทุน” หรือ “การพนัน”
ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมีเส้นบาง ๆ ระหว่าง “การลงทุน” กับ “การพนัน” อยู่ ได้แก่
- วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง
- การวางแผนคิดวิเคราะห์ในระยะยาว
- วินัยทางการเงิน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ผู้พูดก็ไล่วิธีการลงทุนให้ดูโดยเรียงตามความท้าทายน้อยไปมาก (เสี่ยงน้อยไปเสี่ยงมาก แต่ได้กำไรน้อยไปมาก) ดังนี้
ฝากเงินออมในธนาคาร > ซื้อสลากออมทรัพย์ > ซื้อกองทุนรวม > ซื้อหุ้นหรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
สิ่งที่หลายคนพลาดคือมัวแต่จัดการความเสี่ยงตอนขาได้กำไร แต่ไม่ได้จัดการตอนที่ขาดทุนว่าเราจะไม่ให้มันขาดทุนไปมากกว่านี้ยังไง (cut loss) ทำให้ขาดสติและนำไปสู่การขาดทุนแบบเจ็บหนักนั่นเอง จากจุดนี้ก็จะเข้ากิจกรรมเล่น board game ชื่อ Incan Gold
https://boardgaming.com/games/card-games/incan-gold
วิธีเล่น: แต่ละคนจะได้สวมบทเป็นนักสำรวจซากวิหารโบราณของชนเผ่าอินคาเพื่อตามล่าหาสมบีติ ในแต่ละตาทุกคนจะต้องตัดสินใจว่าจะตัดใจยอมล่าถอยกลับแคมป์พร้อมกับสมบัติเท่าที่เก็บมาได้ หรือจะมุทะลุบุกเข้า สำรวจซากโบราณสถานเพื่อหาสมบัติเพิ่ม เพราะยิ่งสำรวจลึกเข้าไปก็ยิ่งเสี่ยงที่จะต้องกลับบ้านมือเปล่า เพราะอาจโชคร้ายจนต้องทิ้งสมบัติที่อุตส่าห์หามาได้เพื่อหนี เอาตัวรอดจากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ซุ่มรออยู่
การเล่นเกมนี้ก็จะได้เป็นการทำให้เราฉุกคิดเรื่องของการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงการควบคุมตนเองและการใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณความน่าจะเป็นว่าเราจะไปต่อหรือพอแค่นี้
การวางแผนคิดวิเคราะห์ในระยะยาว
ผู้พูดได้เล่าให้ฟังว่าการวางแผนว่าจะลงทุนอะไรในช่วงเวลาไหนเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ะคนก็จะมีวิธีการวิเคราะห์ตลาดแตกต่างกันไป โดยคร่าว ๆ จะมีวิธีการวิเคราะห์กันอยู่ 3 แบบได้แก่
- Fundamental analysis: การวิเคราะห์ผ่าน background ของสินทรัพย์ เช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง demand-supply และข่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ เป็นต้น เหมาะกับการลงทุนในระยะยาวเพราะมีความเข้าใจและเห็นภาพรวมของตลาด แต่ต้องใช้ข้อมูลค่อนข้างเยอะในการวิเคราะห์
- Technical analysis: คาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตผ่านการดู graph ข้อมูลก็จะออกมาเป็นตัวเลขทำให้สะดวกต่อการนำไปใช้ต่อ แต่ก็ต้องอาศัยฝีมือและเครื่องมือ
- Quantitative analysis: คาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตโดยใช้ model คณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงสถิติทั้งจากด้าน Fundamental และ Technical เข้าด้วยกัน เป็นการรวมข้อดีและข้อเสียของ 2 analysis ข้างบนนั่นเอง
จากจุดนี้ก็จะเข้ากิจกรรมเล่น board game ชื่อ For Sale
https://www.boardgames.ca/for-sale-card-game.html
วิธีเล่น: แต่ละคนจะสวมบทเป็นนายหน้าอสังหาเพื่อประมูลตัดโอกาสคู่แข่ง โดยเกมแบ่งเป็น 2 ช่วง
- ซื้อบ้าน: เปิดการ์ดบ้านเท่ากับจำนวนผู้เล่น เมื่อเข้าตาเล่นผู้เล่นจะต้องแข่งกันประมูล โดยวางประมูลหรือบอกผ่าน จากนั้นผลัดกันเล่นวนโดยต้องวางเงินให้มากกว่าจำนวนเงินประมูลล่าสุดหรือบอกผ่าน หากบอกผ่านต้องรับบ้านที่มีมูลค่าต่ำสุดไป ละก็เปิดการ์ดเพื่อประมูลรอบใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ จนครบกอง
- ขายบ้าน: ผู้เล่นจะต้องนำการ์ดบ้านที่ประมูลไว้มาขายเพื่อแลกเงิน เปิดการ์ดเงินตามจำนวนผู้เล่น ทุกคนหยิบการ์ดบ้านที่ประมูลไว้ เลือก 1 ใบเพื่อนำมาขาย ผู้เล่นที่วางการ์ดบ้านตัวเลขสูงสุดจะได้รับเงินที่มูลค่ามากสุด แล้วผู้เล่นอื่นจะได้รับเงินตามลำดับ และทิ้งการ์ดบ้านลงกองทิ้ง เปิดขายบ้านจนทุกคนการ์ดหมดมือจึงจบเกม
การเล่นเกมนี้ก็จะได้เป็นการทำให้เราฉุกคิดเรื่องของการบริหารจัดการความเสี่ยงผสมกันการวางแผนคิดวิเคราะห์จากข้อมูลคู่แข่ง (จำการ์ดบ้านที่ประมูล)
Final thoughts
โดยรวมก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษามหาลัยที่โอเคเลย ถึงแม้หลายเรื่องด้านการลงทุนจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเรา แต่เราได้เรียนรู้วิธีการสอนเรื่องที่ดูเหมือนจะน่าเบื่อเหล่านี้ด้วย workshop เช่นการเล่น board game ซึ่งถือว่าทำออกมาได้ดีมาก ๆ เลย ในฐานะที่เราเป็นคนชอบเล่น board game อยู่แล้ว ก็ถือว่าน่าเอาไปปรับใช้กับการทำงานในอนาคต