เมื่ออาทิตย์ที่แล้วในกลุ่ม QA Community ของบริษัทได้มีการแบ่งปัน technique ที่ช่วยทำให้เรารู้จักคนในทีมกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเวลาเราทำงานด้วยกันมาสักพักเรามักจะคิดว่าสิ่งที่เราได้เจอคือตัวตนของเขาทั้งหมด ทำให้เราคิดไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าเขาจะต้องทำหรือคิดแบบนี้เพราะแบบนั้นแน่ ๆ ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป

Johari window เป็น technique ออกแบบโดย Joseph Luft และ Harrington Ingham โดยดั้งเดิมคือเอาไว้ใส่สำหรับกลุ่มคนที่มารวมกันเพื่อเน้นการพัฒนาตนเอง กิจกรรมที่ทำให้เราช่วยเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและคนอื่น มีขั้นตอนดังนี้

  1. เริ่มจากเราเลือกคำศัพท์ adjective ที่บ่งบอกถึงบุคลิกของเราเองมาจำนวนหนึ่งจากทั้งหมดดังต่อไปนี้

    Johari adjectives

  2. สลับกับเพื่อน ๆ ในทีมให้่เลือกคำศัพท์ adjective ชุดเดียวกันที่บ่งบอกถึงบุคลิกของเพื่อนแต่ละคนมาจำนวนที่เท่ากับข้อแรก
  3. นำผลที่ได้ลงมา plot ในตาราง 4 ช่อง (เหมือนหน้าต่างนั่นเอง) แต่ละช่องหมายความดังนี้

    Johari window

    • Arena: เป็นคำศัพท์ที่เราและเพื่อนเลือกตรงกัน หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นที่รับรู้ของคนอื่น ๆ
    • Facade: เป็นคำศัพท์ที่เราเลือกแต่เพื่อนไม่เลือก หมายความว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะคิดเองเออเองหรือเก็บซ่อนไว้ในใจ
    • Blind Spot: เป็นคำศัพท์ที่เราไม่ได้เลือกแต่เพื่อนเลือก เสมือนเป็นจุดบอดที่เรามองข้ามตนเองไป
    • Unknown เป็นคำศัพท์ที่เราและเพื่อนไม่ได้เลือก
  4. ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้เราเห็นว่า
    • ยิ่งเรามีคำศัพท์ในช่อง Arena มากเท่าไร แปลว่าเรายิ่งเป็นคนเปิดเผยตนเอง เพื่อน ๆ เชื่อถือได้
    • เราจะขบคิดถึงสาเหตุของคำในช่อง Facade ว่าทำไมคนอื่นถึงไม่เห็นนะ เช่น เป็นเพราะว่าถ้าแสดงออกไปจะกระทบความสัมพันธ์หรือเปล่า
    • เราอาจจะไม่ได้รู้จักตนเองได้อย่างถ่องแท้จากช่อง Blind Spot
    • ช่องต่าง ๆ สามารถเปลี่่ยนแปลงไปตามเวลาได้เพราะเวลาเปลี่ยนคนเราก็เปลี่ยนไป ดังนั้นมันไม่มีถูกหรือผิดหรอกนะ

การที่เราได้ใช้ technique นี้กับทีม ใจความสำคัญที่สุดคือเราได้เข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะคงความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ยาวนานนั่นเอง