เมื่อเดือนที่แล้วมีโอกาสได้เข้า session เกี่ยวกับ stakeholder management ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญกับงาน consulting ที่ต้องวางแผนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว เพื่อที่จะให้ project ได้บรรลุผลตามที่คาดหวังไว้นั่นเอง มาดูกันหน่อยว่ามีแนวคิดอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง

รู้จักกับ Stakeholder ก่อน

เราควรทำความเข้าใจกับ Stakeholder เพื่อ

  • ทำให้เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรที่ส่งผลดีต่อ project หรือเปล่า
  • ให้ได้รับการสนับสนุนจาก stakeholder ให้เราทำอะไรให้ลุล่วงไปได้ง่ายขึ้น

หนึ่งใน technique ที่เราจะวิเคราะห์ stakeholder คือระบุว่าแต่ละคนมีอำนาจ (power) และความสนใจ (interest) ใน project ของเราอย่างไรบ้าง นั่นหมายความว่า

  • ใครที่มี power เยอะ และ interest เยอะ คือคนที่เราจะต้องเข้าหาอย่างใกล้ชิดและพูดคุยกับเขาให้ได้มากที่สุด
  • ใครที่มี power เยอะ แต่ interest น้อย เราจะต้องทำให้เขา happy เช่น update เกี่ยวกับสถานะความก้าวหน้าของ project บ่อย ๆ
  • ใครที่มี power น้อย แต่ interest เยอะ ทำการ update เกี่ยวกับสถานะความก้าวหน้าของ project บ้าง และเก็บ feedback เกี่ยวกับรายละเอียดของ project จะเป็นประโยชน์มากตอนเริ่มต้น project ใหม่ ๆ
  • ใครที่มี power น้อย และ interest น้อย คือคนที่เราจับตาดูไว้และประเมินความสนใจเป็นระยะ ๆ แต่อย่าไปยุ่งกับเขามาก

หัวหน้าของเราคือ stakeholder ด่านแรก ถ้าหัวหน้าไม่เห็นด้วยกับเรา ก็เป็นเรื่องยากที่จะต่อยอดขึ้นไปหาระดับสูงขึ้น

Power interest matrix

จากนั้นให้เราวิเคราะห์ต่อว่าใครที่คอยช่วยเหลือเราหรือคอยขวางเรา เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อแรงที่เราต้องใช้ไปในการจัดการ project ด้วย โดยตำแหน่งของ stakeholder แบ่งเป็น 5 สถานะคือ

  1. Unaware
  2. Resistant
  3. Neutral
  4. Supportive
  5. Leading

หมายความว่าถ้า stakeholder คนไหนมีสถานะที่อยู่ห่างจากที่เราต้องการเยอะ แปลว่าเราต้องออกแรงมากขึ้นตามไปด้วย

Engagement assessment matrix

แนวคิดในการทำงานกับ stakeholder

เราสามารถสวมหมวกบทบาทได้ 3 แบบ แล้วแต่จะใช้ในสถานการณ์ไหนก็ต้องลองไปประสบกันเอง

  • Engineer: สร้างสิ่งต่าง ๆ โดยมีข้อจำกัดจากเวลา ทรัพยากร เช่น สร้าง prototype ใช้นำเสนองานให้ stakeholder เพื่อต่อยอดไปสร้างของจริง
  • Collaborator: ประสานงาน ดึงข้อมูล หรือแม้กระทั่งขอความช่วยเหลือจาก stakeholder แต่ละคนเพื่อบรรลุเป้าหมาย
  • Advocate: สนับสนุนผลักดันความคิดเห็นที่ช่วยบรรลุเป้าหมาย

แล้วเราจะออกแรงโน้มน้าว stakeholder ได้อย่างไร

เราสามารถใช้หลักการ Cialdini’s 6 Principles of Persuasion มาช่วยได้ ดังนี้

  • Reciprocity: เสนอบางอย่างไม่ต้องยิ่งใหญ่โดยไม่หวังผลตอบแทน และควรจะมาแบบคาดเดาไม่ได้ พิเศษเฉพาะ เพื่อซื้อน้ำใจในระยะยาว เป็นบุญคุณ ไม่อยากติดค้างคาใจกับคนอื่น และรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษ เช่น ให้คำปรึกษาส่วนตัวฟรี
  • Commitment: ขอความร่วมมือ stakeholder ในสิ่งที่เคยรับปากหรือทำไปแล้ว แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างความผูกพัน เพราะคนเราไม่อยากโดนมองว่าผิดคำพูด ผิดภาพลักษณ์ หรือเป็นคนเหลาะแหละ
  • Social proof: ใช้ตัวเลขคนส่วนใหญ่เป็นข้อมูลอ้างอิง เช่น 67% ของประชากรใช้สิ่งนี้ หรือแม้กระทั่งเพื่อน ๆ ของ stakeholder!
  • Liking: ใช้ความชอบของ stakeholder กับอะไรเหมือน ๆ กันมาช่วย เช่น ชอบตีกอล์ฟเหมือนกัน ชอบดื่มกาแฟเหมือนกัน
  • Authority: ใช้คนหรือผู้เชี่ยวชาญที่ดูน่าเกรงขาม น่าเชื่อถือ เช่น ยาสีฟันที่ทันตแพทย์เลือกใช้ หรือ ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย
  • Scarcity: ใช้ความรู้สึกกลัวที่จะสูญเสียมาช่วย เช่น สิ่งนี้มีจำนวนจำกัด ถ้าไม่ตัดสินใจภายในวันนี้ เราจะเสียสิ่งนี้ไป (fear of missing out)

Further readings

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการเจรจาต่อรองอีกด้วย ซึ่งขอแปะบทความที่คนอื่นสรุปไว้แล้วใน เทคนิคการเจรจาต่อรอง (Bargaining) ฉบับกระชับ ไปอ่านกันต่อได้