Productive Scrum meeting

เมื่อเดือนก่อนที่บริษัทมีการพูดคุยกันเรื่อง Daily Scrum (standup meeting) แล้วไปเห็นคุณ Sunil Mundra แบ่งปัน slide ที่เคยไปพูดในงาน agile tour ปี 2012 ได้ โดยเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มพฤติกรรมซึ่งขัดแย้งต่อเป้าหมายของ Daily Scrum ที่เป็นกิจกรรมที่มักจะมาทำกันก่อนเริ่มงาน โดยให้ทีมพัฒนาเล่า แบ่งปัน ให้ทุก ๆ คนได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคืบหน้า และปัญหาที่พบ จาก Scrum Guide ปี 2020 ระบุว่า Daily Scrum มีเป้าหมาย 3 ข้อ

  1. Inspect progress toward the Sprint Goal: ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของ Sprint (Sprint goal) หรือไม่
  2. Adapt the Sprint Backlog as necessary: หากมีกระทบ ร่วมกันทำการปรับแผน ปรับจำนวนและความสำคัญงาน หรือ ปรับ Sprint goal
  3. Adjust the upcoming planned work: ร่วมกันปรับแผนงานที่จะเกิดขึ้นในวันอื่น ๆ เมื่อมีการปรับ Sprint goal

ปัญหาที่เกิดขึ้นของ Daily Scrum

กลุ่มที่ 1: กลุ่มอาการ (Symptomatic)

  • ไม่ได้พูดถึงปัญหา หรือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น: เป็นการสร้างวัฒนธรรมของทีมที่กลัวว่าตัวเองจะเป็นคนผิดเพราะทำให้เกิดปัญหา (blaming culture) เลยไม่พูดมันซะเลย
  • มีคนนอกทีมมากำกับและนำ Daily Scrum: ทำให้ทีมต้องทำตามคำสั่งอย่างเดียว ไม่สามารถจัดการอะไรด้วยตนเองได้เลย
  • ทีมพัฒนาเล่าแต่ความคืบหน้า (status update): เกิดจากการ focus ที่งาน มากกว่าคุณค่า นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมสิ่งที่เล่า มันควรจะมีผลต่อ Sprint goal นั่นเอง

กลุ่มที่ 2: พฤติกรรมที่แปลก (Deviant behaviour)

  • เข้าประชุมสาย: ทำให้ทีมรับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคืบหน้า และปัญหาที่พบได้ไม่ครบถ้วน
  • คุยแทรก: เช่นเดียวกันกับ เข้าประชุมสาย
  • เล่าเรื่องออกทะเล: ทำให้ทีมหลุดความสนใจ สิ่งที่ดีคือไปคุยกันหลัง Daily Scrum แทนน่าจะดีกว่า

กลุ่มที่ 3: แนวทางปฏิบัติ (Practice)

  • คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาไม่ครบทุกคน (ถ้าไม่ได้ลา): ทำให้ทีมไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน
  • ให้คนนอกทีมเข้ามาพูด: เป็นการขัดจังหวะ ถ้าให้ดีคือให้เขามาสังเกตดู (observe) เฉย ๆ ก็พอ

ในทีมของเรามีปัญหาตามที่กล่าวมาบ้างหรือไม่ ถ้ามีเราก็ปรับแก้และตรวจสอบว่าปัญหาถูกแก้แล้วด้วย

Stand Up Meeting Anti Patterns from Sunil Mundra