เมื่อวันก่อนที่บริษัทมี lunch & learn เกี่ยวกับการสร้าง content ด้าน technical ซึ่งประกอบไปด้วยสาเหตุที่เราควรจะเริ่มทำรวมไปถึง tips & tricks ในการสร้าง content ผ่านช่องทางต่าง ๆ ถึงแม้เราเป็นผู้สร้าง content อยู่แล้วแต่การเรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุง content ของเราก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

ทำไมเราถึงควรเริ่มทำ content

  • เป็น Portfolio ของเราที่ใช้ในงานสมัครงาน เช่น ถ้าเราเป็น Developer การมี GitHub profile ที่มีความ active และมีตัวอย่าง code ก็อาจจะทำให้คนที่จะเรียกสัมภาษณ์รับรู้ว่าเรามีประสบการณ์จริง ๆ ไม่ใช่แค่เขียนผ่านตัวหนังสืออย่างเดียว ดีไม่ดีเราอาจจะได้งานในฝันเพราะว่าเราเหนือว่าผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็เป็นได้
  • ทำให้ community เติบโตขึ้น มีคนเก่งเยอะขึ้นในวงการส่วนหนึ่งเพราะจากการเสพ content ของเรา จนเรากลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ
  • มีความรู้ในเชิงลึกมากขึ้นจากการเตรียมตัวค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อสร้าง content เนื่องจากคนฟัง content ของเราอาจจะมาจากหลากหลายประสบการณ์มากน้อยต่างกันไป ลองนึกภาพว่าเรากำลังอธิบายแนวคิดบางอย่างให้ Junior กับ Senior Developer ฟัง แน่นอนว่าความลึกรายละเอียดปลีกย่อยย่อมต่างกันไปด้วย

Tips ในการเขียน Blog

ปัญหาสุด classic ของคนที่เพิ่งเริ่มเขียน blog คือไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี หลาย ๆ เรื่องก็มีคนเขียนมาหมดแล้ว (ทุกวันนี้เราก็ยังเป็น) ลองดูหัวข้อต่าง ๆ เหล่านี้ดูเผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราได้

  • ปัญหาที่ยากที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่อง program แล้วจะป้องกันได้อย่างไร
  • แนวทางการวิเคราะห์การทำงานที่เป็นประสบการณ์ตรง

เพียงแค่ 2 หัวข้อนี้ก็ทำให้กรอบในการเขียน blog แคบลงไปมากพอสมควรแล้วล่ะ หลังจากนั้นเราก็มาดูในส่วนของเนื้อหาโดยอิงตามหลักการต่อไปนี้

  • แก้ grammar ผ่านการอ่านออกเสียงเพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาเพราะถ้ามีอะไรผิดก็จะทำให้ปากเราไม่ตรงกับใจ เมื่อเรารู้ตัวแล้วก็ลงมือแก้ไขให้ถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำเดิมซ้ำ ๆ ที่ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะด้วยคำอื่น ๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน (synonym)
  • เขียนให้กระชับและสั้นผ่านกฎ 10% ของ Stephen King
  • ถ้า blog ของเรามี code ตัวอย่างก็ให้ดูเรื่อง syntax highlighting เพิ่ม และ code ควรจะ compile ได้ copy ได้เนื่องจากคนอ่านสามารถเอาไปใช้ต่อได้นั่นเอง

Tips ในการทำ Podcasts and Videos

ส่วนใหญ่แล้วก็จะเน้นเรื่องทั่ว ๆ ไปในการทำ content ที่ไม่ได้เจาะจงกับ technical เลยอย่างเช่น

  • ออก content ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อดึงความสนใจให้คนดูอยู่กับเรา
  • ในช่วงเริ่มแรกไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่ดีมาก เราสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยกล้องมือถือและหูฟังที่มี microphone
  • ในขณะที่เรากำลังอัดแล้วเกิดพูดผิดหรือเกิดจังหวะที่ต้องตัดทิ้ง ให้ทำเสียงดัง ๆ เวลาตัดต่อจะได้สังเกตจาก graph เสียงที่พุ่งขึ้นมา
  • มี slogan หรือคำคม ๆ ให้คนจดจำ
  • ทำ thumbnail แบบฮา ๆ เพื่อดึงดูดให้คนกดมาดู
  • ลง content ที่มี analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเช่น ช่วงเวลาที่คนดูเยอะสุด หรืออายุเพศของคนที่มาดู

Tips ในการทำ Tech talks

จะไม่ขอพูดถึงเรื่องทั่วไปอย่างเช่น ความมั่นใจ การออกเสียง ท่าทาง หน้าตาอะไรประมาณนี้นะ จะเน้นไปที่ technical ละกัน

  • คนส่วนใหญ่เค้ามาดู talk ของเรา ไม่ใช่มาดูเรา ดังนั้นอย่าเสียเวลาไปกับการแนะนำตัวเองมากจนเกินไป รีบเข้าเรื่อง
  • อย่าได้ใส่ทุกอย่างที่จะพูดลงไปใน slide เพื่อเป็นโพยสำหรับเราเพราะบางทีคนดูเค้าอ่านเสร็จก่อนที่เราจะพูดอีก ฮ่า ๆๆ คำถามคือแล้วจะจำหมดได้ยังไง คำตอบคือไม่ต้องจำทั้งหมดครับ ฝึกซ้อมให้จำได้คร่าว ๆ แล้วนอกนั้นก็เล่าจากความเข้าใจของเรา
  • ถ้ามี code ตัวอย่างไม่จำเป็นต้อง compile ได้เพราะคนดูเค้ามาดึง code ไปไม่ได้อยู่แล้ว ดังนั้นทำให้อ่านง่าย ๆ ไว ๆ เข้าไว้
  • ถ้ามีคนดูถามคำถาม แนะนำว่าให้ทวนคำถามเพื่อ check ว่าเราเข้าใจตรงกัน นอกจากนั้นก็เป็นการช่วยคนดูนอกห้องส่งตามทันด้วย
  • ถ้ายังไม่คล่อง แนะนำให้หา co-speaker
  • เตรียมเนื้อหาโดยสวมบทเป็นคนดูแล้วตรวจสอบว่าเนื้อหาของเราจะตอบข้อสงสัยของคนดูได้ไหม
  • เลียนแบบจาก talk อื่น ๆ ที่คนอื่นเคยพุดแล้วเราคิดว่ามันดี
  • ฝึก ฝึก แล้วก็ฝึก

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่ส่วนนึงของ tips ที่ถูกยกมาใน session เราเชื่อว่าแต่ละคนก็มีวิธีแนวทางของตัวเองที่ต้องเรียนรู้แล้วปรับใช้กันไป