เมื่ออาทิตย์ก่อนได้มีโอกาสเข้าไป training เกี่ยวกับ Consulting ซึ่งเป็นทักษะสายตรงที่จะช่วยให้หน้าที่การงานเติบโตได้เพราะเราทำงานเป็น Consultant นั่นเอง โดยเนื้อหาก็จะมีการประเมินตนเองเพื่อหาจุดปรับปรุงและ tips & tricks ที่น่าสนใจในการรับมือกับลูกค้ายาก ๆ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

จากบทความก่อนหน้าที่เราเคยอ่านหนังสือ Flawless Consulting แนวทางการทำงานของ consultant จะมีหลัก ๆ คือ 3 ขั้นตอน

  1. Contracting ก็คือตกลง scope และความคาดหวังกันก่อน (Hopes and Fears) เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสบายใจว่า บทบาทของ consultant จะเป็นไปตามที่ตกลงไว้โดยจะไม่เข้ามาแย่งงานหรือแย่งตำแหน่งในองค์กรของเค้า
  2. Information gathering ก็คือเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตลูกค้า เช่น software ที่เค้าใช้กันอยู่มันมีปัญหาอะไร
  3. Presenting recommended actions (solutioning) เพื่อเก็บ feedback นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และโน้มน้าวให้ลูกค้าให้เชื่อว่า ทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการวิธีการแก้ปัญหาของเรา

โดยวิธีการ consulting จะมีด้วยกันอยู่ 3 mode คือ

  1. Expert Mode ช่วยลูกค้าในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหานั้น ๆ เน้นเสนอวิธีแก้ปัญหาจากมุมมองของตัวเอง
  2. Pair of Hands ช่วยลูกค้าด้วยการบอกให้ลูกค้าลงมือทำหรือบางทีก็ลงมือทำไปกับลูกค้าเลย
  3. Collaborative Mode ช่วยลูกค้าด้วยการระดมสมองกับลูกค้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาไปด้วยกัน

ในการ consulting จริงเราอาจจะไม่สามารถเลือกเล่น mode อันใดอันนึงเลยไม่ได้ จะต้องมีการ balance ระหว่าง Collaborative และ Expert Mode เนื่องจากจุดแข็งของ Collaborative คือเรามีความเป็นเจ้าของร่วมกับลูกค้าทำให้เราสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้ ในขณะที่ Expert คือเรามีโอกาสที่จะเห็น solution ขึ้นได้เร็ว มีทิศทางที่ชัดเจน เราไม่ต้อง balance ส่วน Pair of Hands เพราะขึ้นอยู่กับลูกค้าล้วน ๆ เราคุมไม่ได้

นั้นหมายความว่าในการ balance นั้น consultant จะต้องใช้ soft skill ต่าง ๆ จากทุก mode เข้ามาช่วยเพื่อให้ได้ผลสำเร็จดังนี้

Collaborative Mode

Involvement

กระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมในมุมมองและแนวคิดในกระบวนการตัดสินใจ

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราตัดสินใจจากมุมมองของตัวเองมากกว่าขึ้นกับคนอื่น

  • จุดแข็งคือไม่ต้องเสียเวลาที่จะต้องไปปรึกษาทีมเพื่อให้ได้ข้อสรุป และคาดหวังว่าทีมจะยอมรับการตัดสินใจของเราโดยไม่มีข้อโต้แย้งเพราะเป็นเหตุเป็นผลของมันอยู่แล้ว
  • จุดอ่อนคืออาจจะไม่มีใครยอมรับหรือผลักดันการตัดสินใจนั้นเนื่องจากเหตุผลที่ต่างกัันของแต่ละคนไป ในขณะนั้นเราก็มีแนวโน้มไม่รับฟังความเห็นของคนอื่น ทำให้เราดูเหินห่างจากทีมไป

ถ้ามี skill นี้มาก

เราเข้าไปปรึกษารับฟังทุกคนก่อนที่จะตัดสินใจ รวมถึงโต้แย้งกับคนอื่นในเรื่องที่เห็นต่างเพื่อให้ได้ข้อสรุป

  • จุดแข็งคือทุกคนเป็นเจ้าของการตัดสินใจร่วมซึ่งลดโอกาสที่จะเกิดคลื่นใต้น้ำ นอกจากนั้นยังได้ประเมินไอเดียของเราจากความเห็นคนอื่น ๆ ด้วย
  • จุดอ่อนคือหากข้อสรุปร่วมกันไม่ได้อาจจะทำให้งานติดชะงัก รวมถึงมีแนวโน้มที่จะแพ้คนในทีมที่เสียงดังกว่า

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ก่อนตัดสินใจให้ถามมุมมองและแนวคิดของแต่ละคนในทีม ถ้ามีข้อเสนอแนะให้มาคุยกัน
  • Share ปัญหา, scope, vision, ความรู้ให้กับทีมให้เกิดการแลกเปลี่ยนกัน
  • ถ้าเราเป็น leader ให้เราฝึกทีมในด้าน problem solving และ facilitation
  • หลีกเลี่ยงความคิดที่ว่าใครที่เห็นต่างกับเราหมายถึงว่าเค้ากำลังโจมตีเรา

Team Development

เพิ่มพูนทักษะให้กับคนในทีมและกระตุ้นให้คนเสนอไอเดียเพื่อแก้ปัญหาใน project

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราเน้นการแจกงานให้คนในทีมโดยที่รู้ว่าเค้าทำได้พร้อมกับบอกไปเลยว่าต้องทำอะไรยังไงบ้างมากกว่าให้เค้าลองผิดลองถูกเพื่อหาวิธีใหม่ ๆ โดยไม่ต้องขอนุญาตเรา

  • จุดแข็งคือมีความเสี่ยงน้อยที่ทีมจะล่ม แต่ละคนเข้าใจว่าจะต้องทำยังไงบ้าง
  • จุดอ่อนคือคนในทีมอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้ดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้มากพอ เกิดอาการเบื่อและไม่อยากที่จะพัฒนา requirement ใหม่ ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ

ถ้ามี skill นี้มาก

เรากระตุ้นให้คนเสนอไอเดียและเรียนรู้จากความผิดพลาด ให้อิสระในการทำชิ้นงานยาก ๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ในขณะเดียวกันก็ปกป้องทีมไม่ให้ทำอะไรเสี่ยงต่อหน้าที่การงานตัวเอง

  • จุดแข็งคือทุกคนจะเก่งขึ้น พร้อมชนกับปัญหาใหม่ ๆ เกิดเป็น culture ใหม่ในองค์กร
  • จุดอ่อนคือมีความเสี่ยงมากขึ้นที่ทีมจะล่มเพราะไม่สามารถทำชิ้นงานที่ยากเกินไปสำหรับเค้าได้ เกิดเป็นความเครียดและกดดันในเวลาต่อมา

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • Catchup กับคนในทีมเพื่อให้งานที่ท้าทายตามความอยากลองของเค้า และหาช่องทางในการช่วยเค้าฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม
  • เมื่อคนในทีมพูดถึงปัญหาขึ้นมา ให้ถามเค้าก่อนเลยว่า “มีคำแนะนำว่าจะแก้ปัญหานี้ยังไง”
  • สร้างกรอบพื้นที่ให้กล้าลองผิดลองถูกแเผื่อถ้าพลาดก็ยังไม่เสียหายมาก
  • เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ให้หลีกเลี่ยงการ “ล่าแม่มด” แต่ให้ทีมถอดบทเรียนนั้นแทน

Expert Mode

Strategic Thinking

วิเคราะห์ปัญหาและต้นตอในภาพใหญ่จากนั้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีผลต่อองค์กรต่อไป

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราสนใจการแก้ปัญหาที่เฉพาะหน้าที่ชัดเจนมากกว่าปัญหากว้าง ๆ ที่คลุมเครือโดยใช้ประสบการณ์ในอดีตมากกว่าการวิเคราะห์

  • จุดแข็งคือทีมจะได้ focus กับวิธีแก้ปัญหาที่จับต้องได้ทำแล้วได้ประโยชน์ทันที ไม่ต้องปวดหัวกับ tactic ซับซ้อน หรือเถียงกันในด้านทฤษฎี
  • จุดอ่อนคืออาจจะพลาดโอกาสประสบความสำเร็จระยะยาว หรือปรับตัวเนื่องจากสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดโอกาสที่จะแพ้คู่แข่งได้

ถ้ามี skill นี้มาก

เราเน้นการมองปัญหาในภาพใหญ่เพื่อวิเคราะห์ไปถึงต้นตอจริง ๆ เป็นคนขี้สงสัยและสนใจการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

  • จุดแข็งคือทีมได้วิธีแก้ปัญหาแบบแปลกใหม่ ปรับได้ตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไปในอนาคต มีข้อมูลและตัวเลขมาเพิ่มความน่าเชื่อถือ
  • จุดอ่อนคือทีมปวดหัวกับ tactic และทฤษฎีอันซับซ้อน มีโอกาสที่จะมองข้ามปัญหาธรรมดา ๆ แต่สำคัญ วิธีแก้ปัญหาดูดีแต่อาจจะทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • นำ SWOT analysis หรือ Force-field analysis มาใช้กับทีม
  • ถ้าเป็น leader ให้ฝึกทักษะ problem solving ในรูปแบบกลุ่ม
  • ติดตามข่าวสารเพื่อทันกระแสโลกให้เราสามารถปรับแผนของเราได้ทัน

Decision Making

ชั่งน้ำหนักข้อมูลแล้วตัดสินใจโดยไม่ลังเลในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราใช้เวลานานในการตัดสินใจ เมื่อไม่มีข้อมูลมากพอหรือเจอความขัดแย้งก็จะขอเลื่อนการตัดสินใจไปก่อนเพื่อรอข้อมูลเพิ่มเติม จะรู้สึกลำบากใจถ้าต้องตัดสินใจ ณ ตอนนั้นทันที

  • จุดแข็งคือมีโอกาสได้ผลลัพธ์จากการตัดสินใจได้ดีกว่า ไม่พาทีมไปเสี่ยงจนกว่าจะมั่นใจ
  • จุดอ่อนคือทีมเสียความมั่นใจในตัวเราถ้าเราโลเล และ project อาจจะไม่สามารถเดินต่อได้เนื่องจากขาดแนวทางที่ชัดเจน

ถ้ามี skill นี้มาก

เราใช้เวลาแปบเดียวในการตัดสินใจ กล้าได้กล้าเสีย

  • จุดแข็งคือทีมมั่นใจในตัวเรา และ project มีแนวทางที่ชัดเจนเดินหน้าต่อไปได้
  • จุดอ่อนคือมีโอกาสได้ผลลัพธ์จากการตัดสินใจได้ไม่ดีที่สุด

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ตั้ง deadline กับคนในทีมเพื่อลงมือตัดสินใจภายในกรอบที่กำหนด
  • ถ้าการตัดสินใจ ณ ตอนนั้นทันทีมีความเสี่ยงมากเกินไป ให้หาวิธีอื่น ๆ ในการลดความเสี่ยงเหล่านั้นนอกเหนือจากเลื่อนการตัดสินใจออกไปอย่างเดียว
  • แบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็ก ๆ สรุปข้อดี-ข้อเสียของแต่ละ option เพื่อจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • ถ้าต้องตัดสินใจในการประชุม ก่อนหน้านั้นให้เราตัดสินใจอันที่จะเป็นไปได้มากที่สุดมาก่อน แล้วก็ทำการบ้านมาเพื่อให้เริ่มประเด็นได้ง่ายขึ้น

Influence

โน้มน้าวและเจรจากับคนอื่นให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ต้องการผ่านการประชุมหรือพูดคุย

ถ้ามี skill นี้น้อย

เน้นเข้าร่วมไม่เน้นโต้แย้ง ให้ค่ากับความคิดเห็นต่างของคนอื่น

  • จุดแข็งคือเราเข้ากับคนอื่นได้ง่าย พร้อมจะยิดหยุ่นประนีประนอมให้ project เดินต่อได้
  • จุดอ่อนคืออาจจะลำบากถ้าจะขอให้คนอื่นทำตามเราเพราะเราอาจจะขายไอเดียไม่เก่ง

ถ้ามี skill นี้มาก

เป็นผู้นำที่ยึดมั่นในความคิดของเรา ชัดเจนในแนวทางและความเชื่อ พร้อมเถียงและชนเพื่อเจรจาให้ได้ตามเป้าหมายของตน

  • จุดแข็งคือทีมเห็นความคิดและแนวทางชัดเจน ทีมได้คนเจรจาเก่งได้ประโยชน์เยอะ
  • จุดอ่อนคืออาจจะเกิดคลื่นใต้น้ำและดูเป็นคนที่ทำงานด้วยยากเพราะขัดกับคนอื่นและเอาแต่ใจ

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ก่อนที่จะโน้มน้าวใครให้จดหรือนึกถึงข้อเห็นต่างที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ก่อน พร้อมข้อดี-ข้อเสียของแต่ละ option และแผนสำรองเผื่อต้องประนีประนอม
  • ทดสอบว่าเค้าเห็นด้วยกับเราไหมด้วยการให้เค้า drive ในสิ่งที่จะเริ่มทำ ถ้าเค้าดูไม่สบายใจให้ถามเค้าเพื่อเข้าใจถึงเจตนาเบื้องหลัง
  • ฝึกฝนการโน้มน้าวด้วยการเล่นบทบาทสมติกับเพื่อนร่วมทีมหรืออาสาไปจับงานขายไอเดีย หรือธุรกิจใหม่ ๆ จากนั้นให้เพื่อนวิเคราะห์เราเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป

Change Driving

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำเสนอข้อปรับปรุงด้วยวิธีใหม่ ๆ ที่ไม่ติดอยู่กับกรอบการทำงานเดิม ๆ

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราชอบทำงานในกรอบ ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง ชอบงานที่มีแนวทางและ guideline ที่ชัดเจนและพิสูจน์ว่ามันก็ประสบความสำเร็จมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร

  • จุดแข็งคือทีมมีความเสี่ยงต่ำ ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเท่านั้น
  • จุดอ่อนคือทีมปรับตัวช้าตามกระแสไม่ทัน มีโอกาสที่จะพลาดการปรับปรุงอะไรที่จำเป็น

ถ้ามี skill นี้มาก

เราไม่ลังเลที่จะลองเส้นทางใหม่ ๆ ค้นคว้า technology ที่ทันสมัยสุด เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น

  • จุดแข็งคือปรัยตัวตามกระแสได้เร็ว project พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง มีโอกาสที่จะได้ยกเครื่องจุดอ่อนขององค์กร
  • จุดอ่อนคือเกิดความเสี่ยงที่จะลงทุนเปล่าเพราะยังไม่ได้ลองวิธีอื่น ๆ

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ปันเวลาไปพูดคุยกับลูกค้าของเราเพื่อเข้าใจว่าเขามีอุปสรรคในการใช้งานระบบเราไหม
  • ทำแบบทดสอบเพื่อหา bottleneck ของระบบทั้งในด้านคน process และ technology แล้วหาว่าเราสามารถปรับปรุงตรงไหนได้บ้าง
  • ตั้งเกณฑ์ในการวัดประสบความสำเร็จของ team ที่สอดคล้องกับแนวทางขององค์กร แล้ว update ให้ทีมดูทุกเดือน

Business Building

ขวนขวายหาโอกาสให้กับทีมเพื่อสร้าง product ที่ตอบโจทย์กับคนในและนอกองค์กร

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราสนใจในการพัฒนาระบบภายในองค์กรมากกว่าจะไปหาลูกค้าใหม่ ๆ ในทีมมีตำแหน่งและบทบาทชัดเจน

  • จุดแข็งคือทีมมีความเสี่ยงต่ำ ไม่เสียเวลาไปเข้าสังคมมากมาย เน้นการทำของที่มีอยู่ให้มันดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
  • จุดอ่อนคืออาจจะตามกระแสไม่ทัน ยืนระยะได้ไม่นาน หรือทำชิ้นงานแล้วเริ่มไม่ตอบโจทย์ลูกค้าใหม่ ๆ

ถ้ามี skill นี้มาก

เราไปหา connection ใหม่ ๆ เพื่อไปหาลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ในองค์กร ในทีมไม่เน้นตำแหน่งแต่เน้นว่า “ทำยังไงก็ได้ให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย”

  • จุดแข็งคือมีโอกาสสร้างพื้นที่และรายได้ใหม่เข้าองค์กรมากขึ้น ชิ้นงานตอบโจทย์ลูกค้าใหม่มากขึ้นตามกระแสที่เปลี่ยนไป
  • จุดอ่อนคือทีมอาจจะต้องรับงานหนักขึ้น เกินเป้าหมายของทีมนั้น ๆ ไป

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • พูดคุยกับลูกค้าทั้งในและนอกทีมว่าเค้าติดปัญหาใหม่ ๆ อะไรบ้าง สิ่งที่เป็นอุปสรรคในตอนนี้คืออะไร
  • ค้นคว้าหาว่าคู่แข่งขององค์กรเราเขาทำอะไรบ้างทั้งในและต่างประเทศ
  • เน้นย้ำกับทีมว่า “ทุกคนมีส่วนช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในการใช้งานระบบของเรา”

Organisation

วางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้งานเสร็จลุล่วงตามงบและ deadline ที่ได้ตั้งไว้

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราเน้นทำเนื้องานแล้วให้คนอื่นมาเก็บรายละเอียดทีหลัง เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

  • จุดแข็งคือเราไม่เสียเวลากับรายละเอียดที่ไม่สำคัญ ไม่จมอยู่กับการวางแผนแบบไม่รู้จบ
  • จุดอ่อนคืองานเก็บไม่เนียน มีโอกาสพลาด deadline หรืองบหมดก่อนเพราะไม่ได้เตรียมการณ์กับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

ถ้ามี skill นี้มาก

เราเน้นลงรายละเอียด คิดเผื่อล่วงหน้าไว้ทุกสถานการณ์ ตรวจสอบว่างานเก็บเนียนหมดแล้วและดูสถานะเพื่อตรวจสอบว่างานเสร็จทันไหม

  • จุดแข็งคือมีความเป็นระบบระเบียบ ทีมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ดีขึ้น
  • จุดอ่อนคือดูเจ้าระเบียบ แผนที่วางไว้ดูงงจับต้องไม่ได้ ทำให้ทีมปวดหัว

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • จัดการและวางแผนเวลาด้วยเครื่องมือ Gantt Chart เพื่อช่วยแบ่งงานออกเป็น phase ตาม schedule ให้ดูง่ายขึ้น จากนั้น share ให้ทีมเข้ามาดูได้เรื่อย ๆ
  • ใช้เครื่องมือ productivity เข้ามาช่วยวางแผนเรื่องต่าง ๆ เช่น time tracking, focus time, project management tool เป็นต้น

Emotional Intelligence

Emotional Resilience

เก็บอารมณ์และไม่แสดงอาการออกไปเมื่อได้รับอะไรแย่ ๆ มา มองโลกในแง่ดีเมื่อเกิดปัญหา

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราเก็บทรงไม่ค่อยอยู่ คนอื่นดูออกว่าเราอยากจะกรี๊ดออกมา

  • จุดแข็งคือปากเราตรงกับใจ คิดยังไงก็พูดอย่างงั้น มีอารมณ์ร่วมกระตือรือร้น คนอื่นจะรู้ว่าเราคิดยังไงกับเขาจริง ๆ
  • จุดอ่อนคือคนอื่นจะรู้ว่าเราคิดยังไงกับเขาจริง ๆ ซึ่งเป็นดาบสองคม และมีโอกาสที่จะเสียโอกาสดี ๆ เพราะอารมณ์ชั่ววูบ

ถ้ามี skill นี้มาก

เราแข็งแกร่งใครทำเราเจ็บหรือหัวร้อนไม่ได้ คนอื่นจะดูไม่ค่อยออกว่าเรารู้สึกอย่างไร ตอบสนองต่อคำติชมได้ดี

  • จุดแข็งคือดูน่าเชื่อถือในสถานการณ์หน้าเสี่ยวหน้าขวาน
  • จุดอ่อนคืออาจจะดูเป็นคนเย็นชา ไม่สามารถพูดปลุกใจคนด้วยอารรมณ์ได้

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • หลีกเลี่ยงการเอาคำวิจารณ์มาตีความว่าเค้ากำลังด่าที่ตัวเรา
  • เมื่อรู้สึกขึ้น ให้หยุดคิดหายใจเข้าลึก ๆ แล้วเปลี่ยนเรื่องหรือไม่ก็ขอไปพักเพื่อสงบสติก่อน
  • เวลาพูดให้ระวังน้ำเสียงอย่าขึ้นหรือเสียงดังมากเกินไป
  • เวลาได้รับ feedback มาอย่าเพิ่งตั้ง guard ด้วยการไปเถียง แต่ให้เปิดรับและขอบคุณเค้าที่ให้ feedback มา

Human Insight

เข้าใจพฤติกรรมของคนเพื่ออ่านความรู้สึกและเจตนาของคนอื่น คาดเดาได้ว่าคนอื่นจะตอบโต้อย่างไร

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราดูเป็นคนซื่อ ๆ จริงใจไม่ซับซ้อน ไม่เข้าไปปั่นหัวคนอื่น

  • จุดแข็งคือเราดูไว้ใจได้ สามารถ focus กับงานตรงหน้าได้
  • จุดอ่อนคืออาจจะโดนคนอื่นหลอกใช้ง่าย ไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไรกับปัญหาของคนในทีม

ถ้ามี skill นี้มาก

เราปลุกใจคนอื่นเก่งเพราะมองคนขาด ใช้เวลาวิเคราะห์คนและคาดเดาการตอบสนองของเค้า สามารถเปลี่ยนตัวเองให้ไหลไปตามสถานการณ์ได้

  • จุดแข็งคือมีโอกาสประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวมากขึ้น สามารถเอาลูกค้าที่ทำงานด้วยยากอยู่
  • จุดอ่อนคือเรามีโอกาสไปตีความคนผิด คนอื่นอาจจะมองว่าเราเป็นคนขี้สงสัยคนอื่นตลอดเวลา

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ก่อนเข้าประชุมสำคัญ ๆ ให้คาดเดาการตอบสนองของเค้าหลาย ๆ ด้าน
  • สังเกตสีหน้า อากัปกริยา สภาพแวดล้อมที่เค้าอยู่
  • วิเคราะห์เจตนาของลูกค้าที่เราคิดว่าทำงานด้วยยากด้วยการเอาใจเค้ามาใส่ใจเรา

Stress Management

จัดการกับความเครียดและรับมือกับความกดดันได้

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราเครียดเมื่อต้องเจอกับความกดดันยาวไปหลังจากนั้นแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

  • จุดแข็งคือตื่นตัวกับปัญหาง่ายเพียงกดดันแค่เล็กน้อย
  • จุดอ่อนคือมีโอกาสที่จะแยกงานกับชีวิตไม่ออกจนลามไปถึงสุขภาพ

ถ้ามี skill นี้มาก

เรายิ้มได้เมื่อภัยมา ไม่เก็บเรื่องเล็กน้อยมาคิดให้เครียด

  • จุดแข็งคือสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมในยามคับขัน
  • จุดอ่อนคืออาจจะมองข้ามปัญหาเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหม่ในอนาคต

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • หลังเลิกงานออกไปข้างนอกสูดอากาศ ออกกำลังกายบ้าง
  • แบ่งเวลาให้ตัวเองพักผ่อน แยกเวลางานออกจากเวลาส่วนตัว
  • ปฏิเสธคำขอของคนอื่นถ้าเรารับไว้ไม่ไหว
  • หาบริษัทที่ให้ทำงานแบบ flexible เราจะได้เลือก work from home ได้

Team Energising

ปลุกใจให้คนเค้นศักยภาพของตัวเองออกมาเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จมากที่สุด

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราสนใจทำงานของเราให้ดีมากกว่าประสิทธิภาพของทีม ไม่ค่อยชอบงานที่ต้องทำเป็นกลุ่มที่ต้องการคนไฟแรง

  • จุดแข็งคือไม่เสียเวลาพูดสวยหรูให้กำลังใจ งานที่ทำอยู่ออกมาดี
  • จุดอ่อนคือทีมไม่อาจรับมือกับความกดดันได้

ถ้ามี skill นี้มาก

เราหาโอกาสที่จะสร้างบรรยากาศสนุก ๆ น่าตื่นเต้นในการทำงาน พร้อมตบรางวัลให้ทีมเมื่อทำผลงานได้ดี เรามองว่าคนจะทำงานออกมาดีต้องสนุกไปกับมันด้วย

  • จุดแข็งคือทีมทำผลงานได้ดีเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน ลดโอกาสที่คนจะลาออก
  • จุดอ่อนคือถ้าสนุกมากเกินไปอาจจะหลุด focus กับงานที่ต้องทำอยู่

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • เมื่อทีมทำผลงานได้ดี พาออกไปเลี้ยงฉลองกัน
  • เมื่อทีมทำผลงานไม่ดี อย่าได้เอาแต่ด่าทีมแต่ให้บอกด้วยว่าเรายังทำอะไรได้ดีแล้วมีจุดไหนที่เราควรทำให้ดีขึ้น

Building Trust

เปิดใจและทำตัวเป็นกลาง ปฏิบัติกับทุกคนให้เท่าเทียมกัน เอาความต้องการของทีมมาก่อนตัวบุคคล

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราไม่ค่อยอยากจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อทีม บางครั้งก็ไม่สามารถพูดตรง ๆ กับทีมได้กลัวบรรยากาศไม่ดี

  • จุดแข็งคือเราปกป้องทีมออกจากเรื่องแย่ ๆ ไม่มองข้ามหน้าที่การงานของตัวเอง
  • จุดอ่อนคือเกิดความเคลือบแคลงใจในทีม อาจจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ยากขึ้น

ถ้ามี skill นี้มาก

เราสามารถพูดคุยกันตรง ๆ กับทีมได้แม้อยู่ในสถานการณ์คับขัน แสดงความรับผิดชอบเมื่อทีมพลาด และให้ credit เมื่อทีมทำได้ดี

  • จุดแข็งคือทีมเชื่อใจซึ่งกันและกัน เราฝึกความเป็นผู้นำ
  • จุดอ่อนคือการพูดตรงเกินไปอาจจะทำให้บาดหมางกันได้ อาจจะมองข้ามความสำเร็จส่วนตัวไป

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • สื่อสารสิ่งสำคัญที่เรากำลังทำที่มีผลต่องานของคนอื่นให้กับทีมตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่น อุปสรรคที่กำลังเจอ เป็นต้น
  • อย่าเลือกปฏิบัติกับคนบางคนหรือบางกลุ่ม
  • อย่าเอา credit ของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง แต่ให้ credit คนอื่นต่อหน้าคนอื่น

Achievement Focus

ตั้งมาตรฐานการทำงานและเป้าหมายของทีมให้สูงทำให้ทีมพร้อมรับงานยาก ๆ เพื่อดึกศักยภาพออกมาให้ได้มากที่สุด

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราชอบงานไม่เสี่ยง มายังไงก็ทำไปตามนั้น เวลาตั้งเป้าก็เอาที่เราคิดว่าทำได้แน่นอน เน้นเข้าร่วมไม่เน้นเข้าเส้นชัย

  • จุดแข็งคือใช้ต้นทุนน้อยแต่ได้สิ่งที่จับต้องได้ ไม่หวือหวาแต่ทำได้จริง
  • จุดอ่อนคือทีมก็ไม่มีอะไรเด่น คุณภาพงานอาจจะตกลงเมื่อเจอ requirement มาก ๆ

ถ้ามี skill นี้มาก

เราเน้นการบรรลุเป้าหมายด้วยมาตรฐานที่สูงพร้อมกับทุกคนในทีม ปลุกใจทีมถ้ามีเป้าหมายให้พุ่งชนแล้วเราจะไปถึงฝั่งฝัน

  • จุดแข็งคืองานคุณภาพดีแล้วอาจต่อยอดไปถึงดีมาก
  • จุดอ่อนคือทีมอาจจะเสียทรงถ้างานเกิดล้มเหลว ต้องใช้ทุนเยอะในการสร้างงานที่ perfect เกินความจำเป็น

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • ตั้งเป้าหมายในหน้าที่การงานและชีวิตของตัวเอง พร้อมกับแผนการที่จะทำให้สำเร็จ
  • สร้างมาตรฐานและแผนระยะยาวที่เหมาะสมกับทีมและสื่อสารให้ทีมเข้าใจ พร้อมกับแผนที่จะลงมือทำให้ถึงเป้าหมาย
  • เสนอแผนงานขายฝันการปรับปรุงระบบให้หัวหน้าฟัง

Proactive Energy

ทุ่มเทลงแรงทำงานเพื่อให้ได้ผลงานออกมาดี เน้นแก้ปัญหาด้วยการมองในแง่ดีมากกว่าหนีปัญหา

ถ้ามี skill นี้น้อย

เราเน้นทำงานแบบเรื่อย ๆ ไม่เร่งรีบมาก

  • จุดแข็งคือมีเวลาคิดรอบคอบได้มากขึ้น ทีมได้ประสบการณ์จากการที่เราแจกงานให้คนอื่นได้ทำ มี work-life balance ที่ดี
  • จุดอ่อนคือถ้าเจอแรงกดดันแล้วแรงเริ่มจก การดองงานก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา

ถ้ามี skill นี้มาก

เราทำงานเร็วแก้ปัญหาทันทีที่เกิดขึ้น พลังงานล้นเหลือทำงานหนัก ๆ ได้ยาว ๆ

  • จุดแข็งคือมีโอกาสหยุดปัญหาไม่ให้บานปลาย คว้าโอกาสได้มากกว่าคนอื่น
  • จุดอ่อนคือทีมไม่ได้ประสบการณ์เพราะเราอมงานไว้ทำคนเดียว

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • เก็บงานที่ตัวเองชอบทำไว้ทีหลังจนกว่าจะทำงานที่ไม่ชอบเสร็จ
  • เวลาทำงานที่ไม่ชอบหรือดูดพลังงานก็ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง
  • พักจากงานออกไปทำอะไรที่เรียกพลังงานบวกกลับมา เช่น ออกกำลังกาย เป็นต้น

Social Interaction

สั้น ๆ เลยคือเข้าสังคมเก่ง

ถ้ามี skill นี้น้อย

ตอนเข้าสังคมคนอยู่เยอะ ๆ เราจะเงียบไม่สุงสิงกับใคร เวลาจะต้องพูดก็ตะกุกตะกักในช่วงแรก ๆ

  • จุดแข็งคือคนมองว่าเราจริงจังและจริงใจ
  • จุดอ่อนคือไม่ค่อยรู้จักคนอื่น เข้ากับทีมได้ช้า

ถ้ามี skill นี้มาก

เราเป็นคนมั่นใจ เป็นจุดสนใจของคนอื่น รู้ว่าจังหวะไหนต้องพูดยังไง

  • จุดแข็งคือคืออาจจะเข้าถึงโอกาสดีในการโน้มน้าวลูกค้า
  • จุดอ่อนคืออาจจะเสียโอกาสดี ๆ จากการฟังน้อยกว่าพูด

แนวปฏิบัติในการพัฒนา skill นี้

  • เวลาเราไปเจอลูกค้าก็ศึกษาไปก่อนว่าเขาชอบอะไร สนใจอะไร ช่วงหน้าติดปัญหาอะไร
  • ฝึกเข้าสังคมบ่อย ๆ ก็จะหายเกร็งหายตึงเครียดไปเอง

จากที่เห็นคือมันมี soft skill เยอะมาก ๆ สิ่งที่เราสามารถทำได้จาก list นี้คือ

  1. เลือก skill ที่คิดว่าเรามีน้่อยสุดมา 1 อัน จากนั้นก็หยิบแนวปฏิบัติสัก 1-2 อันมาทำจริง
  2. พยายามทำให้ soft skill ทุกอันอยู่ตรงกลางให้ได้มากที่สุด